วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว ม.4/1


                                 สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว
จัดทำโดย
                                                1.นาย   คมกฤช     พันเลียว                เลขที่2
2.นางสาว  ธิดารัตน์       โมทารัตน์     เลขที่  10
3.นางสาว  สุวรรณรัตน์  รัตกร            เลขที่  15
4.นางสาว  เกษร              สมบูรณ์       เลขที่ 22
5.นางสาว  กมลชนก       สติภา           เลขที่ 24
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
โรงเรียนตานีวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต33
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้ารายวิชา IS2  30202
การสื่อสารและการนำเสนอ communication and prefentation
ประจำภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2557



บทที่1
บทนำ
แนวคิดที่มาและความสำคัญ
          ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารที่ให้แร่ธาตุวิตามินที่ให้ค่าอาหารสูง มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์นอกเหนือจากการประหยัดเงินแล้ว ยังทำให้เรามั่นใจได้อย่างเต็มที่ว่าเราได้รับประทานผักที่สะอาด คณะผู้จัดทำจึงเลือกที่จะศึกษาสรรพคุณพืชสมุนไพรพืชสวนครัว เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชสวนครัวแต่ละชนิด ทั้งได้รับความสนุกสนานที่ศึกษาค้นคว้าและใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนการสอนและยังทำให้ผู้ศึกษามีความกระตือรือร้นมากขึ้นอีกด้วย
วัตถุประสงค์
     รายงานเรื่อง สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้
1.เพื่อให้ทราบถึงคุณประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด
2.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
3.เพื่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
      รายงานเรื่อง สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ วันที่ 22 เดือนพฤศจิกายนพ.. 2556
ถึงวันที่        เดือนพฤศจิกายน     .. 2556 
สถานที่ดำเนินการ  โรงเรียนตานีวิทยา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      1.ผู้เรียนได้ทราบคุณประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด
     2.สามารถนำมาใช้ในการศึกษาโรคได้อย่างถูกต้อง
บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
             รายงานเรื่อง  สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว  ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                     1.สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว
เรื่อง   โหระพา
ส่วนที่ใช้: ใบ ผลและราก
ส่วนประกอบ: คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ /บี1/บี2/ซี น้ำมันหอมระเหยต่างๆเช่น โอซิมีน ไพนีน ยูคาลิปตอล   เมล็ดมีเมือกหุ้มคล้ายเมล็ดแมงลัก 
สรรพคุณและวิธีใช้: ใช้เป็นยาขับลม ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคหวัด ปวดศีรษะ ท้องอืด  ท้องเฟ้อ ท้องร่วง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
-ผลแก่   ใช้กินเป็นยาระบาย
-ทั้งต้น    มีสารต้านมะเร็ง  แก้สิว   แก้ไข้ หวัด แก้ไอ แก้พิษฝีช่วยย่อยและเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน
-นำใบแห้งมาต้มประมาณ 2-3 ช้อนชา กับน้ำเดือด 1ถ้วยดื่มวันละ3ถ้วย จะช่วยสร้างภูมิต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บได้
*เด็กที่ปวดท้อง   ใช้ใบโหระพาประมาณ 20 ใบ ชงกับน้ำร้อนทิ้งไว้สักครู่นำมาให้เด็กดื่ม ปลอดภัยกว่าการใช้ยาขับลมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
*น้ำมันโหระพาสกัด ยังมีคุณสมบัติฆ่าและไล่แมลงวันและยุงได้
           


เรื่อง   หอมหัวใหญ่  หอมฝรั่ง
ส่วนที่ใช้:  หัว
ส่วนประกอบ:  มีสารจำพวก อัลลิลิกไดซัลไฟด์มีสาร สำคัญเช่นเดียวกับหอมหัวเล็ก
สรรพคุณและวิธีใช้:  ขับปัสสาวะ  ขับเสมหะ  น้ำคั้นจากหัวช่วยลดการอักเสบ  ลดความดันเลือด  ช่วยย่อยแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มปริมาณโคเลสเตอรอลชนิดดี   ช่วยลดระดับไขมันในเลือด  มีสารต้านมะเร็ง
-ให้กินสดๆวันละประมาณ ¼ หัว 2-4 ครั้งต่อวัน ควรทุบให้ละเอียดก่อนทานทุกวันเป็นประจำจะเห็นผลในการช่วยควบคุมั
-ช่วยขจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนกับอาหารแล้วสะสมอยู่ในร่างกาย
-แม่ที่กำลังให้นมลูกควรงด เพราะจะทำให้เด็กร้องไห้แบบโคลิกได้
-เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งและเบาหวานใช้ทานเป็นประจำ

เรื่อง หอมหัวเล็ก   หอมหัวแดง
ส่วนที่ใช้:   หัว   ลำต้น   ใบ
ส่วนประกอบ:   คาร์โบไฮเดรต เส้นใย  โปรตีน  อาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ /บี1/บี2/ไนอาซีน/ซี กากใบและใบสด  มีสารพวกฟลาโวนอยด์ เช่น เคอเซติน สารสปิเรโลไซด์ และสารประกอบอินทรีย์กำมะถันหลายชนิดสารที่สำคัญได้แก่ เมทิล โปรฟิลไดซัลไฟด์และอัลลิลิกไดซัลไฟด์
สรรพคุณและวิธีใช้:  แก้ไข้  ขับลม  ขับเหงื่อ ลดอาการคัดจมูกแก้โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดมีสารต้านมะเร็ง  และมีสารต้านมะเร็งอนุมูลอิสระที่ดีมาก
หัว  บำรุงเส้นผมให้งอกงาม ป้องกันรังแค  บรรเทาอาการผมร่วง ผิวหนังสดชี่น  แก้ร้อนใน  บำรุงธาตุ ขับเสมหะ ผสมเหล้าพอกบริเวณถูกแมลงกัดต่อย

เรื่อง   แตงกวา
ส่วนที่ใช้:   ผลและเมล็ดอ่อน
ส่วนประกอบ:   คาร์โบไฮเดรต เส้นใย  โปรตีน  แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ /บี1/บี2/ไนอาซีน/ซี  มีเร็ปซิน
มีกรดอะมิโนหลายชนิด: และมีสาระสำคัญมีปริมาณสารซิลิคอนและฟลูออไรด์สูง มีสารสเตอรอลมากบริเวณเปลือก
สรรพคุณและวิธีใช้:  มีวิตามินบี1มีสรรพคุณฝาดสมานเสริมการทำงานของระบบปราสาท ช่วยความจำลดอาการนอนไม่หลับแก้ระหายน้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา ลดอาการเหี่ยวย่นช่วยทำให้ผิวสดใสนุ่มนวล เอนไซม์อีเร็ปซินจะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้านให้หลุดออกไป ทำให้ผิวนุ่มยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงเส้นผมและเล็บ
-ใบและเมล็ดแก่ ใช้เป็นยาขับถ่ายพยาธิ
*แตงกวามีพลังงานและสารอาหารน้อยมาก ไม่มีไขมันและไม่มีโคเลสเตอรอลเหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก ไม่ควรทานแทนผักเพียงชนิดเดียว

เรื่อง  มะระจีน
ส่วนที่ใช้:   ยอดอ่อน และผลอ่อน ใบ ราก และเถา
ส่วนประกอบ:  คาร์โบไฮเดรต เส้นใย   โปรตีน  แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ /บี1/บี2//ซีมีสรรพคุณพวก ไมเมอร์ดิซีน เช่น โมเมอร์ดิโคไซด์เค และแอล ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้แก่ พี-อินซูลิน
สรรพคุณและวิธีใช้: 
-ใบ ต้มดื่ม แก้ไข้หวัด บำรุงน้ำดี ดับพิษฝี  แก้ปากเปื่อย แก้ตับ  ม้ามพิการ  แก้อักเสป  ฟกช้ำบวม ใช้ทาภายนอก แก้ผิวแห้ง ลดอาการระคายเคือง อักเสป
-ผลสุก มีซาโปนิน  ไม่ควรกินจะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้-เมล็ด  รสขมจัด  ขับพยาธิตัวกลม
เรื่อง   ตะไคร้
ส่วนที่ใช้:   ลำต้น  ใบ  และเหง้า
ส่วนประกอบ:  มีน้ำมันหอมระเหยระหว่าง0.2-0.4%ประกอบด้วยซิตรัส 80% เมอร์ซีน เมนทอล การบูร เทนพินิล  เอรานิออล เนรัล ฟาร์นีซาล  และซิโตรเนลลอล เป็นต้น
สรรพคุณและวิธีใช้:  ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด  แก้ท้องเฟ้อ ขับเหงื่อ  ลดความร้อนในร่างกาย  สารซิทราลและเมอร์ซีนมีฤทธิ์ต้านและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด บำรุงไต บำรุงหัวใจ และมีสารต้านมะเร็ง
-ใบ ลดความดันโลหิต  แก้ไข้  น้ำมันตะไคร้ 2.5% ต้านเชื้อกลากได้ดี
-เหง้า ตากแห้งนำมาประมาณ 5 กรัมชงกับน้ำร้อน 1แก้ว ดื่มก่อนอาหาร เช้า-เย็น
*ข้อควรระวัง
-อย่าใช้มาก เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
-ไม่ใช้ในขณะตั้งครรภ์
-ไม่ใช้กับเด็กอ่อนและเด็กเล็ก
*ตะไคร้หอม   ไม่นิยมนำมาปรุงแต่งอาหาร ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบและเหง้านำมาใช้ไล่แมลงได้ดี

เรื่อง  มะเขือเทศ
ส่วนที่ใช้:   ใบ ผลและราก
ส่วนประกอบ:   ใบและต้นมีสาร tomarine และ Solanine ผลมีสารแคโรทีนอยด์สีแดงชื่อ ไลโคปีน  กลูต้าไฮโอน  กรดพีคูมาริก กรดคลอดเจนิก  วิตามินเอ/ซีสูง วิตามินอี  แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก  โพแทสเซียม ส้นใยอาหาร และกรดซิตริกเป็นต้น
สรรพคุณและวิธีใช้:   ใบนำมาตำใช้ทาหรือพอก แก้ผิวหน้าถูกแดดเผา ผลแก้ระหาย ระบายท้อง เจริญอาหารช่วยขับพิษบำรุงร่างกายกระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ สารไลโคปีคล้ายเบต้าคาโรทีนแต่แรงกว่า 2 เท่า เสริมสร้างภูมิต้านทานป้องกันผิวหนังเหี่ยวย่นป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากน้ำมะเขือเทศที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งขึ้นต้นแล้วมีสารไลโคปีนมากกว่าในลูกสดๆไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเป็นสารต้านมะเร็งเหมาะสำหรับคนที่เบื่ออาหารคนที่มีปัญหาที่ตับ อ่อนเพลียช่วยให้สายตาดี รากต้มกินแก้ปวดฟัน เอาส่วนน้ำมาล้างแผลและโรคอ้วน ช่วยการทำงานของระบบปราสาท
*การทานมะเขือเทศมากเกินไป เกิน10ผลต่อวัน   ติดต่อกันเป็นเดือนอาจทำให้เกิดอาการฝ่ามือฝ่าเท้าเป็นสีแดง แก้ไขได้โดยรีบทานธาตุเหล็กเสริม สีจะค่อยๆจางหายไป

เรื่อง   มะเขือพวง
ส่วนที่ใช้:   ผลอ่อน ลำต้น  ใบ เมล็ด  ราก
ส่วนประกอบ:   คาร์โบไฮเดรต เส้นใย  โปรตีน  2.8% แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ /บี1/บี2//ซี  ไนอาซิน  ใบ มีสารจำพวกสเตียรอยด์  ราก มีสารนิโอโคลดรเจนินและอัลลอยด์ จูรูบีน
สรรพคุณและวิธีใช้:  ผลแก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหารแก้เบาหวาน ให้คุณประโยชน์สำหรับผู้ที่มีตับและม้ามผิดปกติคั้นเอาน้ำผสมเกลือใช้อมแก้ไอ
ราก    ใช้ตำพอกแก้เท้าแตก
ลำต้น    ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ปวด ฟกช้ำ
ใบสด    แก้ฝีบวมมีหนอง สงบประสาท แก้ปวด ชัก ไอ หืด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ
เมล็ด    เผาไฟสูดดมแก้ปวดฟัน





เรื่อง   กระถิน
ส่วนที่ใช้:   ยอดอ่อน ใบอ่อน  เมล็ดอ่อน และราก
ส่วนประกอบ:   พลังงาน  คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ /บี1/บี2/ ไนอาซิน วิตามินซี ซึ่งสามารถดูดสารซีลิเนียม จากดินมาสะสมไว้ในเมล็ดได้มาก
สรรพคุณและวิธีใช้:  ดอก บำรุงตับแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตก
                               ราก ขับระดูขาวเป็นยาอายุวัฒนะ
                               ใบ มีโปรตีนสูงหากกินเป็นจำนวนมากจะทำให้ขนร่วงและมีรายงานว่าหากกินมากอาจทำให้เป็นหมันแต่มีโปรตีนสูงจึงนำมาเป็นส่วนผสมอาหารให้สัตว์เลี้ยงเป็นยาแก้ท้องร่วง สมานแผล

เรื่อง   ผักชี
ส่วนที่ใช้:   ใบ ก้านและลูก
ส่วนประกอบ:   ใบสดมีโปรตีน เส้นใย ฟอสฟอรัส เบต้าคาโรทีน ลูกผักชีมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสารไลนาโลออลเป็นส่วนใหญ่ในผล มีน้ำมันไม่ระเหย 13%มีสาระสำคัญชื่อ โคริแอนครอล มีแทนนิลและแคลเซียมออกซาเลทและมีสารเอสโตรเจน
สรรพคุณและวิธีใช้:  ช่วยย่อย บำรุงกระเพาะ เจริญอาหารขับลม ขับพิษลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด ฟอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง แก้อักเสบ ลดการปวดบวม แก้อาหารเป็นพิษมีสารต้านมะเร็งต้านเชื้อราและแบคทีเรีย
ลูกผักชี    แก้พิษตานซาง  แก้ลมวิงเวียน  แก้ขับถ่ายเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ต้มน้ำอาบเมื่อเป็นหัด
ราก    เป็นกระสายยา แก้หัด สุกใส ดำแดง   
กากลูกผักชี    สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว  มีโปรตีนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดีใช้ในการทำแชมพูสระผมและน้ำมันนวดตัว
ผงลูกผักชีบด    ใช้โรยแผลกันเชื้อฝีหนองได้
บทที่3
วิธีการดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน
     1.ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน
     2.ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อโครงงาน
     3.ผู้ศึกษาร่วมกันศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเรียนและสื่อต่างๆและจากอินเตอร์เน็ต
     4.ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาทสำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน
     5.นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
     6.จัดทำคู่มือเพื่อใช้สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา








บทที่4
ผลการดำเนินการ
             รายงานเรื่อง สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว  มีผลการดำเนินการ ดังนี้
             สมุนไพร  หมายถึง  พืชที่มีสรรพคุณรักษาโรคหรือยาการเจ็บป่วยต่างๆการใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรคหรือยาการเจ็บป่วยต่างๆนี้ จะต้องเอาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยาใช้ตำหรับนอกจากสมุนไพรแล้วยังประกอบด้วยเนื้อสัตว์หรือแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบของยานี้ว่าเภสัชวัตถุพืชสมุนไพรบางชนิดเช่น แร่   กระวาน  กานพลู เป็นต้น














บทที่5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
          รายงานเรื่อง  สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว  มีผลการดำเนินการ  ดังนี้
สรุป
          การจัดทำรายงานเรื่อง  สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว   สามารถสรุปได้ดังนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพร
2.มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
3.เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
อภิปรายผล
            การจัดทำรายงานเรื่อง  สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว   สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
                   จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว  
                  สมุนไพร  หมายถึง  พืชที่มีสรรพคุณรักษาโรคหรือยาการเจ็บป่วยต่างๆการใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรคหรือยาการเจ็บป่วยต่างๆนี้ จะต้องเอาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยาใช้ตำหรับนอกจากสมุนไพรแล้วยังประกอบด้วยเนื้อสัตว์หรือแร่ธาตุอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
                  การจัดทำรายงานเรื่อง  สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว   มีข้อเสนอแนะ  ดังนี้
จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว   มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงงานคือ
     1.เนื่องจากเนื้อหาของสรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว    อาจมีจำนวนมากในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาอาจหรือยกเนื้อหาของสรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว  
     2.ควรมีการจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ทางเว็บไซต์ในโอกาสต่อไป
  3.นำผลจากการศึกษาสรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว   ไปสร้างเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ

บรรณานุกรม

                          สรรพคุณสมุนไพรพืชสวนครัว. สิ่งแวดล้อม   กรุงเทพมหานคร   มปป.
















10 ความคิดเห็น:

  1. คมกฤช : นักเรียนมีเหตุผลใดจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ก็เห็นข้างๆบ้านอยู่ทุกวัน เลยอยากรู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่ ก็เลยสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้ครับ

      ลบ
  2. ธิดารัตน์ : ก่อนศึกษาและหลังจากศึกษาเรื่องนี้นักเรียนมีความรู้อย่างไรบ้าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รู้ว่าสมุนไพรที่อยู่ตามบ้านและที่เห็นทุกวันมีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆได้มาก

      ลบ
  3. สุวรรณรัตน์ : ที่บ้านนักเรียนมีพืชสมุนไพรอะไรบ้างและยกตัวอย่างสรรพคุณของพืชสมุนไพรนั้น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มีโหระพา ผักชีและตะไคร้
      1.โหระพา ใช้เป็นยาขับลม ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคหวัด ปวดศีรษะ ท้องอืด
      2.ผักชี ช่วยย่อย บำรุงกระเพาะ เจริญอาหารขับลม ขับพิษลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด ฟอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง แก้อักเสบ
      3.ตะไคร้ ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ขับเหงื่อ ลดความร้อนในร่างกาย

      ลบ
  4. เกษร : นักเรียนึคิดว่าสมุนไพรไทยกับยาปัจจุบันอันไหนรักษาดีกว่ากันจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สมุนไพรไทย เพราะ การใช้สมุนไพรไม่ค่อยเป็นพิษหรือมีอาการข้างเคียงมาก ยังมีราคาถูกกว่ายาปัจจุบันมาก นอกจากนี้ สมุนไพรบางชนิดสามารถปลูกเองในครอบครัวได้อีกด้วย

      ลบ
  5. กมลชนก : ถ้านักเรียนไม่สบายนักเรียนจะเลือกรักษาแบบใดระหว่างสมุนไพรกับยาปัจจุบันเพราะอะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สมุนไพร เพราะ เมื่อเราไม่สบายเราก็สามารถหาได้ตามรอบๆบ้าน และก็ยังหาได้ง่าย ไม่เป็นอันตราย

      ลบ