วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำราชาศัพท์ 4/4

http://gpa1.moe.go.th/10June512Send/report/Picture/lg11320503.jpg

คำราชาศัพท์
 เสนอ
อาจารย์บัญพิชชา บรรเลง

จัดทำโดย
                 1.นายวงศกร                    บุญเรือง                เลขที่9
                                                 2. นางสาวกัญยาณี            อินธิสาร               เลขที่11
                  3.นางสาวนัฐฐินัน             สาระแสน             เลขที่28
                  4. นางสาวปิยารัตน์           ประไวย์               เลขที่29
                  5. นางสาวพรนภา             โหมฮึก                เลขที่30
                 6. นางสาวสาวิณีย์              สายสี                  เลขที่31
                  7.นายธวัชชัย                     สุจริตย์               เลขที่ 34
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/4
โรงเรียนตานีวิทยา    สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 33
ภาคเรียนที่ 2    ปีการศึกษา 2556










กิตติกรรมประกาศ
                      โครงงานเรื่องคำราชาศัพท์  สำเร็จลงได้ด้วยความกรุณาของคุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และครูที่ปรึกษาโครงงานคือคุณครู บัญพิชชา  บรรเลง ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน ขอขอบคุณเพื่อนๆชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/4 ทุกคนที่คอยให้คำแนะนำคอยให้กำลังใจ และขอขอบคุณครูบรรณารักษ์ ห้องสมุดโรงเรียนตานีวิทยา ทุกท่านที่กรุณาแนะนำการค้นหาหนังสือและการใช้พจนานุกรม
            ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ท่านรองผู้อำนวยการด้านวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ให้ความสนับสนุนในการจัดทำโครงงาน
               ท้ายที่สุดขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่และญาติทุกท่าน ที่กรุณาให้ข้อมูลรวมทั้งสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์และให้กำลังใจในการทำโครงงาน จนสำเร็จลงด้วยดี
            ข้าพเจ้าหวังว่ารายงานโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ สำหรับเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานโครงงานต่อไป          
สารบัญ
           เรื่อง                                                                                                                          หน้า
                                                                           บทที่ 1 บทนำ                                                                                                             1                                                         
                    บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                   2-12
                บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน                                                                                    13
                บทที่ 4 ผลการศึกษา                                                                                                14
                บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา                                                                                       15
              บรรณานุกรม                                                                                                            16

 สารบัญตาราง
              ตาราง                                                                                                                                                          หน้า
              ตารางที่ 1.1 ใช้คำว่า หลวง ต้น พระที่นั่ง ประกอบข้างหลัง คำนามสามัญ                                                         2
                     ตารางที่ 1.2ใช้คำว่า ทรง ประกอบข้างหลังคำสามัญ นิยมใช้เป็นคำเฉพาะกับ                                                 2-3
                    ตารางที่ 1.3ใช้คำว่า พระ นำหน้าคำนามสามัญที่มาจากคำบาลี-สันสกฤตหรือคำเขมร หรือคำไทยบางคำ   3
            ตารงที่ 1.4 ใช้คำว่า พระราช นำหน้าคำนามสามัญที่มาจากคำบาลี-สันสกฤต หรือคำเขมร และคำไทย บางคำเพื่อใช้ กับ พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระยุพราชโดยเฉพาะ                                                                                                                                                       3
             ตารางที่ 1.5 ใช้คำว่า พระบรม นำหน้าคำนามสามัญที่มาจากคำบาลี-สันสกฤต หรือคำเขมร และคำไทยบางคำเอที่ใช้แสดง    พระเกียริติยศอันยิ่งใหญ่                                                                                                                                                                                                          3
                                     ตารางที่ 1.6 การใช้คำว่า พระที่นั่ง นำหน้าคำนามสามัญที่เป็นชื่อที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และมีเศวตฉัตร  4
                  ตารางที่ 2 คำสรรพนามราชาศัพท์                                                                                                                        4-5
              ตารางที่ 3 คำกริยาราชาศัพท์                                                                                                                                       5
                   ตารางที่ 4 คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล                                                                                             6
                   ตารางที่ 5 คำศัพท์หมวดเครื่องใช้                                                                                                                          6-7
                ตารางที่ 6 คำศัพท์หมวดระสงฆ์                                                                                                                              

                                                                                                                                                               สารบัญรูปภาพ                                                                                                                                          
                ภาพ                                                                                                                                                       หน้า
                   ภาพที่ 1 พระมหากษัตริย์และพระราชินี                                                                                                    9

 บทที่ 1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ
          การเรียนภาษาไทยมีบทเรียนที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะ เรื่อง “คำราชาศัพท์” คำราชาศัพท์เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่ศึกษาแล้วไม่นำไปใช้ ดังนั้น เราจึงจัดทำโครงงานเรื่อง “คำราชาศัพท์” เพื่อให้ผู้ที่จะศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจคำราชาศัพท์มากขึ้น

วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้มีความรู้เรื่องคำราชาศัพท์
2.       เพื่อนำคำราชาศัพท์ไปใช้กับบุคคลได้ถูกต้อง
3.       เพื่อนำไปใช้ในโอกาสที่เหมาะสม
4.       เพื่อให้เราสามารถใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
5.       เพื่อให้รู้ว่าเราควรใช้คำราชาศัพท์ อย่างไร

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
           รายงานเรื่อง “คำราชาศัพท์” ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ วันที่ 22 เดือนพฤศจิกายา พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 20 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 สถานที่ดำเนินการ ได้แก่ โรงเรียนตานีวิทยา ห้องสมุดโรงเรียนตานีวิทยา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       บุคคลใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
2.       ได้รับความรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์
3.       บุคคลใช้คำราชาศัพท์ได้เหมาะสม
4.       สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน













บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายงานเรื่อง “คำราชาศัพท์” ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.       หนังสือราชาศัพท์และเครื่องครองราชย์อิสริยาภรณ์ไทย
2.       หนังสือพจนานุกรมไทยฉบับทันสมัยและสมบูรณ์
3.       หนังสือวัฒนธรรมทางภาษาไทย
4.       พจนานุกรมไทยฉบับนักเรียน

      ราชาศัพท์ เป็นคำเฉพาะใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายตั้งแต่โบราณกาล ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยเป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นเกียรติและบำเหน็จความชอบนับเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมประจำชาติไทยที่โดดเด่นยิ่งกว่าชนชาติอื่นใด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนคนไทยทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ ทุกหมู่เหล่าพึ่งได้เรียนรู้เพื่อนำไปใช้ นำไปปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ

1.      คำนามราชาศัพท์
      คำนามราชาศัพท์บางคำบัญญัติขึ้นใช้โดยเฉพาะบางคำใช้คำนามสามัญโดยใช้คำอื่นประกอบหน้าหรือหลังให้แปลกว่าคำธรรมดา

ตารางที่ 1.1 ใช้คำว่า หลวง ต้น พระที่นั่ง ประกอบข้างหลัง คำนามสามัญ เช่น


คำนามสามัญ
คำนามราชาศัพท์
ลูก
ลูกหลวง
เรือ
เรือหลวง
วัง
วังหลวง
สวน
สวนหลวง
ช้าง
ช้างต้น
รถ
รถพระที่นั่ง
เรือ
เรือพระที่นั่ง
ช้าง
ช้างพระที่นั่ง

ตารางที่ 1.2ใช้คำว่า ทรง ประกอบข้างหลังคำสามัญ นิยมใช้เป็นคำเฉพาะกับเจ้านาย เช่น


คำนามสามัญ
คำนามราชศัพท์
เสื้อ
เสื้อทรง
ช้าง
ช้างทรง
เรือ
เรือทรง
รถ
รถทรง
ม้า
ม้าทรง

ตารางที่ 1.3ใช้คำว่า พระ นำหน้าคำนามสามัญที่มาจากคำบาลี-สันสกฤตหรือคำเขมร หรือคำไทยบางคำ เช่น


คำนามสามัญ
คำนามราชาศัพท์
กร
พระกร
เกศ
พระเกศ
เนตร
พระเนตร
หัตถ์
พระหัตถ์
เคราะห์
พระเคราะห์


ตารงที่ 1.4 ใช้คำว่า พระราช นำหน้าคำนามสามัญที่มาจากคำบาลี-สันสกฤต หรือคำเขมร และคำไทย บางคำเพื่อใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระยุพราชโดยเฉพาะ เช่น


คำนามสามัญ
คำนามราชาศัพท์
บิดา
พระราชบิดา
มารดา
พระราชมารดา
โอรส
พระราชโอรส
อาสน์
                      พระราชอาสน์       
ดำริ
พระราชดำริ

ตารางที่ 1.5 ใช้คำว่า พระบรม นำหน้าคำนามสามัญที่มาจากคำบาลี-สันสกฤต หรือคำเขมร และคำไทยบางคำเอที่ใช้แสดงพระเกียริติยศอันยิ่งใหญ่ เช่น


คำนามสามัญ
คำนามราชาศัพท์
โกศ
พระบรมโกศ
เดชนุภาพ
พระบรมเดชานุภาพ
อัฐิ
พระบรมอัฐิ
วงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศื
ธาตุ
พระบรมธาตุ



ตารางที่ 1.6 การใช้คำว่า พระที่นั่ง นำหน้าคำนามสามัญที่เป็นชื่อที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และมีเศวตฉัตร เช่น


คำนามสามัญ
คำนามราชาศัพท์
จักรีมหาปราสาท
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
อัมรินทรวินิจฉัย
พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย
วิมาณเมฆ
วิมาณเมฆ
มังคลาภิเษก
มังคลาภิเษก

ตารางที่ 2 คำสรรพนามราชาศัพท์


ผู้ที่เรากล่าวถึง
สรรพนามบุรุษที่ ๑
สรรพนามบุรุษที่ ๒
สรรพนามบุรุษที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

พระองค์

สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช
สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ข้าพระพุทธเจ้า



ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท



พระองค์



สมเด็จเจ้าฟ้า
พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าพระบาท

พระองค์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
(มิได้ทรงกรม )
พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ
( ทรงกรม )
ชาย=เกล้ากระหม่อม หญิง=เกล้ากระหม่อมฉัน


ฝ่าพระบาท



ท่าน



พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ
( มิได้ทรงกรม )
หม่อมเจ้า
ชาย=กระหม่อม
หญิง=หม่อมฉัน

ฝ่าพระบาท


ท่าน


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้า
ฝ่าพระบาท
ท่าน
สมเด็จพระสังฆราช

ชาย=เกล้ากระหม่อม หญิง=เกล้ากระหม่อมฉัน
ฝ่าพระบาท

ท่าน

สมเด็จพระราชาคณะ
รองสมเด็จพระราชาคณะ
ชาย=กระผม
หญิง=ดิฉัน
พระคุณเจ้า

ท่าน

พระราชาคณะ

ชาย=กระผม
หญิง=ดิฉัน
พระคุณเจ้า

ท่าน

พระสงฆ์ทั่วไป

ชาย=กระผม
หญิง=ดิฉัน
ท่าน

ท่าน


ตารางที่ 3 คำกริยาราชาศัพท์


คำศัพท์
คำราชาศัพท์
ถาม
พระราชปุจฉา
ทักทายปราศรัย
พระราชปฏิสันถาร
ไปเที่ยว
เสด็จประพาส
ทาเครื่องหอม
ทรงพระสำอาง
ไหว้
ถวายบังคม
อาบน้ำ
สรงน้ำ
ตัดสิน
พระบรมราชวินิจฉัย
นอน
บรรทม
นั่ง
ประทับ
ไป
เสด็จ
อยากได้
ต้องพระราชประสงค์
เขียนจดหมาย
พระราชหัตถเลขา
แต่งตัว
ทรงเครื่อง
มีครรภ์
ทรงพระครรภ์
หัวเราะ
ทรงพระสรวล
รับประทาน
เสวย
ป่วย
ประชวร
ชอบ
โปรด





ตารางที่ 4 คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล


คำศัพท์
คำราชาศัพท์
พ่อ
พระชนก พระบิดา
ปู่, ตา
พระอัยกาพระอัยกี
ลุง
พระปิตุลา
พี่ชาย
พระเชษฐา
น้องชาย
พระอนุชา
พ่อผัว, พ่อตา
พระสัสสุระ
ผัว
พระสวามี
แม่
พระชนนี,พระมารดา
ย่า, ยาย
พระอัยยิกา
ป้า
พระปิตุจฉา
พี่สาว
พระเชษฐภคินี
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา
พี่เขย, น้องเขย
พระเทวัน
ลูกเขย
พระชามาดา

ตารางที่ 5 คำศัพท์หมวดเครื่องใช้


เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
ผ้าเช็ดหน้า
ซับพระพักตร์
กระจกส่อง
พระฉาย
ข้าว
พระกระยาเสวย( พระมหากษัตริย์ )
น้ำกิน
พระสุธารส
ตุ้มหู
พระกุณฑลพาน
ช้อน
ฉลองพระหัตถ์
ช้อนส้อม
ฉลองพระหัตถ์ส้อม
ปิ่น
พระจุฑามณี
ไม้เท้า
ธารพระกร
หมาก
พานพระศรี
น้ำชา
พระสุธารสชา
เหล้า
น้ำจัณฑ์
กางเกง
พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)
เสื้อ
ฉลองพระองค์
รองท้า
ฉลองพระบาท
ของเสวย
เครื่อง
ที่นอน
พระยี่ภู่
ม่าน, มุ้ง
พระวิสูตร พระสูตร
ถาดน้ำชา
ถาดพระสุธารส
คนโทน้ำ
พระสุวรรณภิงคาร
ผ้าอาบน้ำ
พระภูษาชุบสรง
ปืน
พระแสงปืน
เข็มขัด
รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง
ประตู
พระทวาร
เตียงนอน
พระแท่นบรรทม
ผ้าเช็ดตัว
ซับพระองค์


6.คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
           คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระภิกษุ ถือได้ว่าเป็น ภาษาพิเศษที่ใช้แตกต่างกับบุคคลทั่วไป เช่น ฉันภัตตาหาร บุคคลทั่วไปใช้ว่า กินอาหาร จำวัด บุคคลทั่วไปใช้ว่า นอน ถวาย บุคคลทั่วไปใช้ว่า มอบให้ อาพาธ บุคคลทั่วไปใช้ว่า เจ็บ ป่วย สรง บุคคลทั่วไปใช้ว่า อาบน้ำ ทำวัตร บุคคลทั่วไป ใช้ว่า สวดมนต์ มรณภาพ บุคคลทั่วไปใช้ว่า ตาย หรือ ถึงแก่กรรม เป็นต้น
            นอกจากนี้การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุที่ทรง สมณศักดิ์ ก็ต้องใช้ให้เหมาะสมกับสมณศักดิ์ของพระองค์ เช่น การใช้คำราชาศัพท์ กับ สมเด็จพระสังฆราช ฐานันดรศักดิ์ ของพระองค์จะเป็นเสมือนพระราชวงศ์ชั้น พระองค์เจ้าคำพูดที่ใช้ต้องใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระองค์เจ้าชั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ เช่น ใช้คำ เสวยภัตตาหาร แทนคำว่า ฉันภัตตาหาร ใช้คำ บรรทม แทนคำว่า จำวัด ใช้คำ ประชวร แทนคำว่า เจ็บป่วยหรืออาพาธ ใช้คำ ทรงรับนิมนต์ แทน คำว่า รับนิมนต์ ใช้คำ สิ้นพระชนม์ แทนคำว่า ตายหรือ ถึงแก่กรรม เป็นต้น
            คำราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุที่เป็นคำกริยา  ชาตะ (เกิด) จำพรรษา (อยู่ประจำที่วัด ๓ เดือน ในฤดูฝน) เจริญพร (เป็นคำเริ่มที่พระภิกษุสามเณรพูดกับ สุภาพชนและเป็นคำรับ) เจริญพระพุทธมนต์ (การสวดมนต์ ของพระสงฆ์ในมงคลพิธี) นิมนต์ (เชื้อเชิญ) นมัสการ (การ แสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้) อุปสมบท (บวช เป็นพระภิกษุ) บรรพชา (บวชเป็นสามเณร) ลาสิกขา (สึก ลาออกจากความเป็นภิกษุเป็นคนธรรมดา) อาราธนา (นิมนต์อ้อนวอน เช่น อาราธนาธรรม ขอนิมนต์ให้พระภิกษุแสดงธรรม) ครองจีวร (นุ่งห่ม แต่งตัว)
            การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้ายในหนังสือราชการ และคำที่ใช้ในการเขียนจดหมาย สำหรับพระภิกษุ




ตารางที่ 6 คำศัพท์หมวดระสงฆ์

คำสามัญ
ราชาศัพท์
สรงน้ำ
อาบน้ำ
คำสอน(พระสังฆราช)
พระโอวาท
จำวัด
นอน
ธรรมาสน์(พระสังฆราช)
พระแท่น
นิมนต์
เชิญ
ที่นั่ง
อาสนะ
ปัจจัย
เงิน
เรือนที่พักในวัด
กุฏิ
ประเคน
ถวาย
ห้องสุขา
ถาน,เวจกุฎี
มรณภาพ
ตาย
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
ใบปวารณา
อังคาด
เลี้ยงพระ
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
เสนาสนะ
ยารักษาโรค
คิลานเภสัช
รูป
ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
จังหัน
อาหาร
คำสั่ง(พระสังฆราช)
พระบัญชา
ฉัน
รับประทาน
จดหมาย(พระสังฆราช)
พระสมณสาสน์
อาพาธ
ป่วย
จดหมาย
ลิขิต
ปลงผม
โกนผม
ห้องอาบน้ำ
ห้องสรงน้ำ
เพล
เวลาฉันอาหารกลางวัน
อาหาร
ภัตตาหาร
ประเคน
ถวาย
อาหารถวายพระด้วยสลาก
สลากภัต
ลิขิต
จดหมาย
เครื่องนุ่งห่ม
ไตรจีวร
คนรู้จัก
อุบาสก,อุบาสิกา
องค์
ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป

7.คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์
            ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติที่มีเอกลักษณ์  มีระเบียบแบบแผนในการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะและระดับของบุคคล โดยเฉพาะภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยเช่นกัน คือการใช้ คำราชาศัพท์ที่มีความสำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางสังคมที่ประชาชนมีต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยความจงรักภักดี การยกย่องเทิดทูน และความผูกพันระหว่างกษัตริย์กับประชาชน
                                   
                                   ภาพที่ 1 พระมหากษัตริย์และพระราชินี
                  อ้างอิงรูปภาพ http://www.moohin.com/festival/king9-60year-5.shtml
                  จากบันทึกประวัติศาสตร์ เขียนไว้ว่า คนไทยเราเริ่มใช้คำราชาศัพท์ตั้งแต่ในรัชสมัยพระมหาธรรม ราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในศิลาจารึกวัดศรีชุม ได้กล่าวถึงการตั้งราชวงศ์และกรุงสุโขทัย โดยมีคำว่า อภิเษกซึ่งเป็นคำราชาศัพท์ที่ไทยเรารับมาใช้สำหรับประกอบพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง นอกจากนี้ ในวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่า มีคำราชาศัพท์อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น คำว่า สมเด็จ เสด็จ พระสหาย ราชอาสน์ ราชกุมาร บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเษก เป็นต้นทุกวันนี้การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ เรารับรู้จากการนำเสนอผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต มีการสื่อสารการใช้คำราชาศัพท์ผิดๆ อยู่เป็นประจำ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าผู้มีหน้าที่นำเสนอข่าวสาร ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการใช้คำราชาศัพท์ หรือเกิดจากความไม่รับผิดชอบ ปล่อยปละละเลย จึงนำเสนอให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นผลให้จดจำไปใช้กันผิดๆ ดังตัวอย่างการใช้คำราชาศัพท์ต่อไปนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร 

              ข้อความนี้ใช้คำราชาศัพท์ ทรงประชวรผิด เพราะ ประชวรเป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ ทรงนำหน้า เช่นเดียวกับคำว่า โปรด เสวย ตรัส เสด็จ กริ้ว ทูล ถวาย บรรทม ประทับ
คำเหล่านี้เป็นคำราชาศัพท์ทั้งสิ้น จึงไม่ต้องใช้ ทรงนำหน้า แต่ถ้าหากจะใช้ ทรงนำหน้า ต้องใช้ว่า ทรงพระประชวรเพราะใช้ ทรงนำหน้าคำนามราชาศัพท์ได้ เช่นเดียวกับคำว่า พระเมตตา พระอุตสาหะ พระพิโรธ พระสรวล พระราชนิพนธ์ พระราชสมภพใช้ทรงนำหน้าได้เพราะคำเหล่านี้เป็นคำนามราชาศัพท์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนที่มารอรับเสด็จ
               ข้อความนี้ใช้คำราชาศัพท์ ทรงมีพระราชปฏิสันถารผิด ที่ถูกต้องคือ มีพระราชปฏิสันถารทั้งนี้เพราะว่าไม่ต้องใช้ ทรงนำหน้าคำกริยา มีหรือ เป็นที่ต่อท้ายด้วยคำนามราชาศัพท์ เช่นเดียวกับคำว่า มีพระเมตตา มีพระราชดำริ มีพระบรมราชโองการ เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชธิดา คำเหล่านี้ ใช้ ทรงนำหน้าไม่ได้เช่นกัน แต่ถ้าคำว่า เป็นมีคำสามัญธรรมดาต่อท้าย ใช้ ทรงนำหน้าได้ เช่น ทรงเป็นผู้นำทรงเป็นที่เคารพสักการะเป็นต้น
ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
                 ข้อความนี้ควรแก้ไขให้ถูกต้องว่า ประชาชนชาวไทยมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งไม่ควรใช้คำว่าถวายเพราะว่าความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ถวายให้กันไม่ได้
โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจร่วมกันถ่ายทอดสดพิธีน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวควรเปลี่ยน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ….” เป็น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย….” เพราะการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีหลักการใช้ว่าถ้าเป็นของเล็กให้ใช้ว่าทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย….”ถ้าเป็นของใหญ่ให้ใช้ว่าน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย….”
หลักเกณฑ์การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ 
                การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ควรคำนึงถึงการใช้คำที่เป็นคำในลักษณะต่างๆ ได้แก่ คำนามราชาศัพท์ คำสรรพนามราชาศัพท์ คำกริยาราชาศัพท์ การใช้คำกราบบังคมทูล และการใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกความหมาย

8.        การใช้คำนามราชาศัพท์มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 

         8.1 คำนามที่เป็นชื่อสิ่งสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำที่ใช้เติมข้างหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมราช พระบรม พระราช พระอัครและพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนก พระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์,พระบรมอัฐิ,พระราชโอรส,พระอัครชายาพระมหาปราสาทเป็นต้น
         8.2  คำนามที่ใช้เป็นชื่อสามัญทั่วไป นำหน้าด้วยคำ พระเช่น พระหัตถ์ พระบาท พระกรพระแท่นพระเคราะห์เป็นต้น
         8.3 คำนามที่ต่อท้ายด้วยคำว่าต้นและหลวงเช่น ประพาสต้น ช้างต้น เรือนต้น วังหลวง รถหลวง เรือหลวง ส่วน หลวงที่แปลว่าใหญ่ไม่จัดว่าเป็นคำราชาศัพท์เช่นทะเลหลวงเขาหลวงภรรยาหลวง
         8.4 คำนามที่ใช้คำไทยประสมกับคำต่างประเทศ เช่น ริมพระโอษฐ์ เส้นพระเกศา ฝ่าพระบาท ลายพระหัตถ์ ช่องพระนาสิก ขอบพระเนตร เป็นต้น

9.       การใช้คำสรรพนามราชาศัพท์มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 

        คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่๑.....บุคคลทั่วไปใช้คำว่าข้า“พระพุทธเจ้า”
        คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่๒.....บุคคลทั่วไปใช้คำว่า“ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท”
        คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่๓.....บุคคลทั่วไปใช้ว่า“พระองค์,พระองค์ท่าน”
การใช้คำกริยาราชาศัพท์มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้
        9.1   ใช้ ทรงนำหน้าคำกริยาธรรมดา เช่น ทรงยืน ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงฟัง ทรงมีเหตุผลทรงตัดสินเป็นต้น
        9.2  ใช้ ทรงนำหน้าคำนามธรรมดา เช่น ทรงศีล ทรงธรรม ทรงดนตรี ทรงบาตร เป็นต้น
         9.3   ใช้ เสด็จนำหน้าคำกริยาบางคำ เช่น เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จกลับ เสด็จออก เสด็จไปเป็นต้น
        

      9.4  ใช้ เสด็จนำหน้าคำนามราชาศัพท์ เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชสมภพ เสด็จพระราชดำเนิน คำเสด็จพระราชดำเนิน หมายถึงเดินทางโดยยานพาหนะ หรือเดินทางตามทางลาดพระบาท ต้องเติมคำที่เป็นใจความไว้ข้างหลังเช่นเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม

       9.5  ไม่ใช้ ทรงนำหน้าคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ตรัส โปรด ถวาย ทูล ประสูติ เป็นต้น
       9.6 ใช้คำไทยประสมกับคำต่างประเทศใหเป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ขอบพระทัย สนพระทัย ทอดพระเนตร แย้มพระโอษฐ์ เอาพระทัยใส่ ลงพระปรมาภิไทย เป็นต้น

 10. การใช้คำกราบบังคมทูลมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 

คำขึ้นต้นขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม คำลงท้ายด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ เมื่อจะกราบบังคมทูลเรื่องใด ควรใช้ข้อความที่แสดงถึงเรื่องที่จะกราบบังคมทูล โดยเริ่มต้นข้อความ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะกราบบังคมทูลดังนี้
         10.1เมื่อกล่าวถึงความสะดวกสบายหรือรอดพ้นอันตรายใช้ข้อความว่าขอเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
         10.2เมื่อกล่าวถึงข้อความที่หยาบหรือไม่เหมาะสมใช้ข้อความว่าไม่บังควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา
         10.3เมื่อกล่าวถึงการที่ได้ทำผิดพลาดหรือทำในสิ่งที่ไม่ควรใช้ข้อความว่าพระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม
         10.4เมื่อกล่าวข้อความเป็นการขอบพระคุณใช้ข้อความว่าพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
         10.5 เมื่อกล่าวข้อความเป็นกลาง เพื่อจะได้ทรงเลือกให้ใช้ข้อความลงท้ายคำกราบบังคมทูลว่า การจะควรมิควรประการใดสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
         10.6เมื่อจะกราบบังคมทูลความเห็นของตนใช้ข้อความว่าเห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
         10.7เมื่อจะกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาติใช้ข้อความว่าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ
         10.8เมื่อจะกราบทูลถึงสิ่งที่ทราบมาใช้ข้อความว่าทราบเกล้าทราบกระหม่อมว่า
         10.9เมื่อจะกราบบังคมทูลถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวายใช้ข้อความว่าสนองพระมหากรุณาธิคุณ
         10.10เมื่อจะขอพระราชทานโอกาสทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ใช้ข้อความว่า ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส


        การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ มีหลักเกณฑ์อยู่มากพอสมควร ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งการที่จะใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ต้องศึกษาหลักเกณฑ์การใช้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ถ้าหากใช้ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ก็อาจจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้

11. ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์
      -คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัคราช พระอัคร และพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครชายา พระมหาปราสาท พระมหาเศวตฉัตร เป็นต้น
      -คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา นำหน้าด้วยคำพระราชเช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์ พระราชลัญจกร เป็นต้น
      -คำนามเป็นชื่อของสิ่งสามัญทั่วไปที่ไม่ถือว่าสำคัญส่วนใหญ่เป็นคำบาลีสันสกฤต เขมร และคำไทยเก่า แต่บางคำก็เป็นคำไทยธรรมดานำหน้าด้วยคำ พระเช่น พระกร พระบาทพระโรค พระฉาย พระแท่น พระเคราะห์ เป็นต้น คำนามใดที่เป็นคำประสม มีคำ พระประกอบอยู่แล้ว ห้ามใช้คำ พระนำหน้าซ้อนอีก เช่น พานพระศรี (พานหมาก) ขันพระสาคร (ขันน้ำ) เป็นต้น
       -คำนามที่เป็นชื่อสิ่งไม่สำคัญและคำนั้นมักเป็นคำไทย นำหน้าด้วยคำว่า ต้นเช่น ม้าต้น ช้างต้น เรือนต้น และนำหน้าด้วย หลวงเช่น ลูกหลวง หลานหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง ส่วน หลวงที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ เช่นภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง เป็นต้น นอกจากคำว่า ต้นและ หลวงประกอบท้ายคำแล้ว บางคำยังประกอบคำอื่นๆ อีก เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง รถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง ของเสวย โต๊ะเสวย ห้องบรรทม เป็นต้น
12.  ศัพท์สำหรับเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า
       -ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัlส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น
       -ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ พระนำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น
คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
 13. การใช้คําราชาศัพท์ที่ควรสังเกตุ

       การใช้คำว่า พระ” “พระบรม” “พระราช
พระใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่นพระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น
พระบรมใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย เป็นต้น
พระราชใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชประวัติ พระราชานุญาต พระราชวโรกาส เป็นต้น
14. การใช้คำว่า ทรงมีหลัก 3 ประการ คือ
นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงรถ ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง เป็นต้น
นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่นทรงวิ่ง ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ เป็นต้น
นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ ทรงนำหน้า เช่นเสวย เสด็จ โปรด เป็นต้น
การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ 
ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่าเฝ้าฯรับเสด็จย่อมาจากเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จไม่ใช้คำว่าถวายการต้อนรับ
คำว่าคนไทยมีความจงรักภักดีหรือแสดงความจงรักภักดีใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า ถวายความจงรักภักดี
15. การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
คำว่า อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะและพระราชอาคันตุกะใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่าราชนำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมีราชนำหน้าในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ ทูลเกล้าฯ ถวายถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ น้อมเกล้า ฯ ถวาย





บทที่ 3
วิธีดำเนินการ

รายงานเรื่อง “คำราชาศัพท์” ผู้จัดทำได้ดำเนินการ ดังนี้
วิธีการดำเนินงาน
1.       ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำรายงาน
2.       ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อ วัตถุประสงค์ขอรายงาน
3.       ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ ดังนี้ หนังสือราชาศัพท์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย หนังสือพจนานุกรมไทยฉบับทนสมัยและสมบูรณ์ หนังสือวัฒนธรรมทางภาษา
4.       ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหา
5.       นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อบรรยายผลการดำเนินงาน

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
1.       ปากกา
2.       ดินสอ
3.       ยางลบ
4.       ปากกาลบคำผิด
5.       ไม้บรรทัด
6.       คอมพิวเตอร์
7.       กระดาษ A4
 บทที่ 4
                                                ผลการศึกษา

ความหมายของคำราชาศัพท์
1.       คำราชาศัพท์ นี้พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้อธิบายไว้ในหนังสือวจีของท่านว่า หมายถึง ศัพท์สำหรับพระราชาหรือศัพท์หลวงแต่ปัจจุบัน หมายถึงระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคลที่เคารพ
2.       คำราชาศัพท์ ตามตำราหลักไทย หมายถึงถ้อยคำสุภาพถูกแบบแผน สำหรับใช้คำบุคคลและสรรพสิ่งทั้งปวง
3.       มาจากคำไทยที่รับมาจากภาษาอื่น ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต เขมร เป็นต้น

ความสำคัญของคำราชาศัพท์
1.       เพื่อให้เราใช้ถ้อยคำในการพูดจาได้ไพเราะถูกต้องตามกาลเทศะและฐานะแห่งบุคคล
2.       การใช้ราชาศัพท์ที่ถูกต้องเป็นการแสดงความประณีตนุ่มนวล น่าฟังของภาษา
3.       การเรียนรู้ราชาศัพท์ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้กับตนเองทำให้เข้าสมาคมได้ง่าย
4.       การเรียนรู้คำราชาศัพท์ย่อมทำให้เราเข้าถึงรสของวรรณคดีเพราะในวรรคดีมีราชาศัพท์ปนอยู่มากจึงจำเป็นต้องเรียนรู้

 บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
        จาการทำโครงงานวิชาภาษาไทย เรื่องคำราชาศัพท์ได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและจากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจในผลงานและการนำเสนอ ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังมีความพึ่งพอใจในเนื้อหาสาระได้รับความสนุกสนานจากการทำกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับคำราชาศัพท์มากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในโอกาสต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังได้รับความพึงพอใจในความเหมาะสม ที่จัดเป็นสื่อการเรียนการสอน

สรุป
     การทำรายงานเรื่อง “คำราชาศัพท์” สามารถสรุปได้ดังนี้
1.       เพื่อส่งเสริมให้คนในปัจจุบันมาสนใจศึกษาคำราชาศัพท์มากขึ้น
2.       เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องคำราชาศัพท์
3.       เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
4.       เพื่อนำคำราชาศัพท์ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

อภิปรายผล
     จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง “คำราชาศัพท์” พบว่าคำราชาศัพท์หมายถึง คำเฉพาะใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายตั้งแต่โบราณกาล ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยเป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นเกียรติและบำเหน็จความชอบนับเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมประจำชาติไทยที่โดดเด่นยิ่งกว่าชนชาติอื่นใด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนคนไทยทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะ ทุกหมู่เหล่าพึ่งได้เรียนรู้เพื่อนำไปใช้ นำไปปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ

ข้อเสนอแนะ
            ๑.  ควรมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในเรื่องอื่น ๆ อีก
            ๒.  ควรหาคำราชาศัพท์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
            ๓.  ควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามอักขระวิธี 

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทย



     



                              บรรณานุกรรม

วิโรจน์ ศรสงคราม.วัฒนธรรมทางภาษา.กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2541
ซีเอ็ดยูเคชั่น.พจนานุกรมไทยฉบับทันสมัยและสมบูรณ์.กรุงเทพ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2553
ฝ่ายวิชาการไอคิว พลัส. พจนานุกรมฉบับนักเรียน.กรุงเทพ : IQ Pius, 2555
สุทธิ ภิบาลแทน.ราชาศัพท์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย.สมุทรปราการ : บุ๊คพอยท์,2548













15 ความคิดเห็น:

  1. นัฐฐินัน : ทำไมนักเรียนจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์เพราะอะไรจึงมีความสนใจเรื่องนี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
    2. เพราะว่า คำราชาศัพท์ เป็นความรู้ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปและที่สำคัญคำราชาศัพท์นิยมต้องใช้กับพระมากษัตริย์ และพระสงฆ์ กลุ่มดิฉันจึงเลือกที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมกี่ยวกับ การใช้คำราชาศัพท์ เพื่อเป็นความรู้ติดตัว

      ลบ
  2. ปิยารัตน์ : ในชีวิตประจำวันของนักเรียนพบเห็นได้ยินและได้ใช้คำราชาศัพท์คำใดมากที่สุดใช้อย่างไรใช้กับใครจงยกตัวอย่าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พบและได้ยินในวัดคะ เพราะว่าเวลาเราไปวัดเราจะใช้คำราชาศัพท์กับพระภิกษุสงฆ์
      ตัวอย่างเช่น ฉันภัตตาหาร บุคคลทั่วไปใช้ว่า กินอาหาร จำวัด บุคคลทั่วไปใช้ว่า นอน ถวาย บุคคลทั่วไปใช้ว่า มอบให้ อาพาธ บุคคลทั่วไปใช้ว่า เจ็บ ป่วย สรง บุคคลทั่วไปใช้ว่า อาบน้ำ ทำวัตร บุคคลทั่วไป ใช้ว่า สวดมนต์ มรณภาพ บุคคลทั่วไปใช้ว่า ตาย หรือ ถึงแก่กรรม เป็นต้น

      ลบ
  3. พรณภา : นักเรียนคิดว่าคำราชาศัพท์มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนกับตัวนักเรียนและบุคคลทั่วไปเพราะอะไรจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มีความสำคัญมากเพราะคำราชาศัพท์เป็นคำที่เราควรรู้และศึกษาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน

      ลบ
  4. สาวิณีย์ : นักเรียนคิดว่าในชีวิตประจำวันของนักเรียนนักเรียนได้ใช้คำราชาศัพท์หมวดใดมากที่สุดใช้กับใคร จงยกตัวอย่าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หมวดที่ใช้กับพระสงฆ์ค่ะ เพราะในชีวิตประจำวันเราต้องไปวัดทำบูญ หรือไม่เราก้อตักบาตร ในบางครั้งพระท่านก้อคุยกับเราเราก้อต้องพูดกับท่านเพื่อไม่เป็นการเสียมารยาท คำที่ดิฉันใช้บ่อย เช่น คำว่า กราบนมัสการ นิมนต์ จำวัด เทศน์ ฉันต์เพณ

      ลบ
  5. ธวัชชัย : นักเรียนได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการศึกษาเรื่องนี้และในอนาคตนักเรียนคิดว่านักเรียนจะได้ใช้คำราชาศัพท์หมวดใดมากที่สุดเพราะอะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมได้รับประโยชน์จากคำราชาศัพท์เยอะมากเพราทำให้ผมได้รู้จักการใช้คำให้ถูกต้อง กับพระมหากษัตริย์ และ พระสงฆ์ หรือท่านอื่นๆที่เป็นเชื่อพระราชวงส์ต่างๆให้ถูกต้องตามหลักคำราชาศัพท์
      ถ้าผมได้ใช้คำราชาศัพท์ผมขอเลือกหมวด พระสงฆ์ เพราะ ผมจะได้ใช้คำศัพท์ที่ถูกต้องกับพระสงฆ์ และจะนำไปเผยแพร่ ต่อๆไป ให้กับ ชุมชน ต่างๆ

      ลบ
  6. กัญญานี : ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเคยใช้คำราชาศัพท์หมวดใดมากที่สุดใช้กับใครใช้อย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หมวดพระสงฆ์ค่ะ ใช้กับพระสงฆ์ค่ะ ตัวอย่างเช่นพระภิกษูสงฆ์อาบน้ำ เราใช้ว่าสรงน้ำ
      พระภิกษุสงฆ์ทานข้าวเที่ยง เราใช้ฉันภัตตาหาร
      พระภิกษุสงฆ์ป่วย เราใช้อาพาธ

      ลบ
  7. วงศกร : นักเรียนได้รับอะไรบ้างจากการศึกษาเรื่องนี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง

      ได้รับความรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์

      สามารถใช้คำราชาศัพท์ได้เหมาะสม

      สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

      ลบ