วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รายงานเรื่อง การละเล่นของไทย

รายงาน
เรื่อง     การละเล่นของไทย
โดย
นายพีรเดช                   สุทารัมย์          เลขที่  3
นายอำนาจ                   ชาวเมืองดี       เลขที่  5
นางสาวจันทร์จิรา       วิเวกรัมย์          เลขที่  8
                                       นางสาวปัทจิมาภรณ์        พลอินทร์   เลขที่  14
  นายภูวนาท                  ดำเสนา            เลขที่  28
ชันมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

โรงเรียนตานีวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 33

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้ารายวิชา I 30202
การสื่อสารและการนำเสนอ(Communication  and  presentation)
ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 
ครูที่ปรึกษา
นางปัณพิชชา              บรรเลง
กิตติกรรมประกาศ
       รายงานเรื่อง  การละเล่นของไทย  ฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจาก  นายสมโภชน์ สุขเจริญผู้อำนวยการโรงเรียนตานีวิทยาและ  คุณครู ปัณพิชชา    บรรเลง  คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วย
       ขอขอบพระคุณ  คุณครู ปัณพิชชา             บรรเลง  ครูที่ปรึกษาที่ได้ให้คำนะนำและคอยช่วยเหลือในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุล่วง  และขอขอบคุณคณะครูทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์
      ขอขอบพระคุณบิดามารดาของคณะผู้จัดทำ  ที่ให้การสนับสนุนในการศึกษาเล่าเรียน และคอยเป็นกำลังใจให้เสมอมา

                                                                                 คระผู้จัดทำ










สารบัญ
หน้า
บทที่  1
            แนวคิดที่มาและความสำคัญ                                                                                                                                  1
           วัตถุประสงค์                                                                                                                                                                1
           ระยะเวลาและสถานที่การดเนินการ                                                                                                                       1
           ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                                                                    1
บทที่  2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                                    2
           การละเล่นโพงพาง                                                                                                                                                    2
           การละเล่นเบี้ยขี่โก่ง                                                                                                                                               2-3
           การละเล่นเป่ากบ                                                                                                                                                        3
           การละเล่นกำทาย                                                                                                                                                    3-4
           การละเล่ามอญซ่อนผ้า                                                                                                                                              4
           การละเล่าวิ่งขาโถกเถก                                                                                                                                              4
           การละเล่าเดินกุ๊บกั๊บ                                                                                                                                                   5
           การละเล่าจานช้อนใบ                                                                                                                                            5-6
           การละเล่าชักเย่อ                                                                                                                                                         7
           การละเล่นสะบ้าล้อ                                                                                                                                                    7
           การละเล่าตะกร้อลอดบ่วง                                                                                                                                  8-10
           การละเล่าหมากเก็บ                                                                                                                                                 10
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ                                                                                                                                                      12
บทที่ 4 ผลการดำเนินการ                                                                                                                                                      13
บทที่ 5 สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ                                                                                                                   14
            สรุปผล
            อภิปรายผล
            ประโยชน์ที่ได้รับ
            ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม                                                                                                                                                                     15-16
ภาคผนวก                                                                                                                                                                                 17
แบบสอบถาม                                                                                                                                                                           18
          
  








                                                                                                                                                    1                                                                                                       
  บทที่ 1
บทนำ
แนวคิดที่มาและความสำคัญ
               การละเล่นพื้นบ้านของไทยถือว่าเป็นเอกลักษณะแต่ละท้องถิ่นในอดีต  การละเล่นพื้นบ้านของไทยถือเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลายยามว่างแต่ปัจจุบันนี้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนี้มีเพื่อให้นักท่องเที่ยวชมเท่านั้นซึ่งการละเล่นพื้นบ้านถูกกลืนหายไปด้วยวัฒนธรรมใหม่และโลกเทคโนโลยีสื่อสารทำให้เกิดยุคใหม่  ไม่ค่อยรู้จักการละเล่นพื้นบ้านของไทยที่เคยเป็นเอกลักษณ์แต่ละท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
             1.เพื่อศึกษาการละเล่นของไทย
             2.เพื่อให้เยาวชนไทยตระหนักถึงการละเล่นไทยมากขึ้น
             3.เพื่อไม่ให้เยาวชนมองข้ามสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของไทย
ระยะเวลาและสถานที่การดำเนินการ
            รายงาน เรื่อง การละเล่าของไทย  ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า  ตั้งแต่  วันที่ 20 เดือน พฤศจิกายน พ.2556  ถึง วันที่ 15 มกราคม 2557สถานที่ดำเนินการ  ได้แก่ โรงเรียนตานีวิทยา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            1.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการละเล่นของไทยมากขึ้น
            2.เพื่อเป็นการเผยแพร่การละเล่นของไทย
            3.เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของไทย


2
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การละเล่นโพงพาง
            อุปกรณ์   ผ้าปิดตา
            วิธีเล่น     เลือกคนที่เป็นปลาโดยการจับไม้สั้นไม้ยาว  เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา  แล้วหมุนสามรอบผู้เล่นคนอื่นๆล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม  พร้อมร้องเพลงประกอบเมื่อจบเพลงนั้นลง  ถามว่าเป็นปลาเป็นหรือปลาตาย  ถ้าตอบว่าปลาเป็นคนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อนหนีได้ถ้าบอกปลาตายจะต้องนั่งอยู่เฉยๆคนที่ถูกปิดตาทายถูกก็ต้องมาเป็นตัวแทน  ถ้าทายต้องเป็นต่อไป (ผู้เป็นปลา  ซึ่งถูกปิดตาจะต้องทายว่า  ผู้ที่ถูกจับได้เป็นใคร  ชื่ออะไร)
            บทเพลงประกอบ
        โพงพางเอย  ปลาเข้าลอด  ปลาตาบอด  เข้าลอดโพงพาง  โพงพางเอย  นกกระยางเข้าลอด  เสือปลาตาบอด  เข้าลอดโพงพาง  กินปลาเป็นหรือปลาตาย

การละเล่นเบี้ยขี่โกง
            อุปกรณ์ 
                -เบี้ย (ก้อนหินที่มีลักษณะแบน)
            วิธีการเล่น
            1.ขุดหลุมให้พอเหมาะกับเบี้ย 1 หลุด  และขีดเส้นใต้ให้พอเหมาะ
            2.ถ้าผู้เล่นมีไม่ครบคู่เล่นคี่ก็ได้
            3.จุดโยนเบี้ยต้องห่างจากหลุมไม่ต่ำกว่า 5 เมตร
                                                                                                                                                                     3
 4.ผู้เล่นต้องโยนหินให้ใกล้หลุมมากที่สุดหรือลงหลุมได้เลย                                                                                                                       
 5. เก็บที่โยนเบี้ยไกลที่สุดจะถูกคนที่ใกล้หลุมมากที่สุดเก็บเบี้ยขึ้นมาแล้วโยนจากหลุมให้ข้าม  เขต 5 เมตร  แล้วโยนเบี้ยให้ถูกคนที่อยู่ไกลหลุม
          6.ถ้าถูกคนนั้นก็จะขี่หลังของคนที่ตีเบี้ยโดนนั้น  แล้วโยนหินบนหลังนั้นให้เข้าหลุดก็ได้หรือไม่เข้าก็ต้องตีโดนเบี้ยนั้นให้ได้
            7.ถ้าโยนไม่ถูก  คนที่ได้ขี่หลังก็จะถูกคนที่ขี่หลังเก็บเบี้ยของตน  แล้วมาตีให้ถูกเบี้ยของคนนั้นให้ได้ตียังไม่ถูกคนที่เหลือก็จะตีให้ถูกหินของใครก็ได้  แล้วคนที่ขี่หลังโยนหินต่อ  แต่ถ้าไม่โดนสักคนก็เริ่มต้นใหม่

การละเล่นเป่ากบ
             อุปกรณ์ 
       - ยางวง  (วงใหญ่หรือวงเล็กก็ได้)
             วิธีการเล่น
              เอายางวง  จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่  หรืออาจเป็นวงสีต่างๆอยู่ที่ความชอบ  นำมาวางบนพื้นคันละ  1  ให้อยู่ห่างกันประมาณ  1  ฟุต  ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางวง ของตนไปข้างหน้าทีละน้อยๆจนยางวงทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผู้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางวง  ของฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ  ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางวง  แต่อาจให้รางวัวอื่นๆก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

การละเล่นกำทาย
              อุปกรณ์(ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง)
                 -ยางเส้น
                                                                                                                                                                        4
          -เมล็ดมะม่วงหินมะพานต์
         -เมล็ดสวาด
         -เมล็ดสวด
        -ลูกนู(ก้อนดินกลม)
             วิธีการเล่น
               1.เมื่อสัญญาณการเล่นเริ่มขึ้นทุกคนจะกอบหรือกำของที่อยู่ตรงหน้านั้น โดยไม่ให้คนอื่นเห็นว่ามีจำนวนเท่าไร
              2.ให้ทายว่าของในมือของทุกคนเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเท่าใด
              3.เมื่อทายเสร็จทุกคนแบมือออกและนับของในมือของทุกคนใครทายถูกได้เป็นกรรมสิทธิ์ในของนั้นถ้าทายถูกหลายคนใช้วิธีหารแบ่งถ้ามีเศษให้รวมไว้เป็นกองกลางเพื่อไปหนต่อไป
            
การละเล่นมอญซ่อนผ้า
            อุปกรณ์
                 -ผ้า
            วิธีการเล่น
                1.ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุดถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอกที่เหลือนอกนั้นนั่งลงกันเป็นวง หันหน้าเข้าหากันในระยะห่างกันประมาณ  1  ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตักแล้วร้องเพลงเพื่อความรื่นเริง
               2.ให้ผู้ถือผ้าบังผ้าไม่ให้ผู้ที่นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆวงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิทเดินบ้างวิ่งบ้างทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วางเพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นโอกาสแล้วแอบหย่อนผ้ลงไว้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่งเมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้นั้นต้องรู้ตัว
                                                                                                                                                                                                  5
       3.ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึงก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้ใดผู้หนึ่งต่อไปแต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัวจนผู้ที่วางวิ่งมาหยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกฟาดจะลุกขึ้นรับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนแทนที่
            
การละเล่นวิ่งขาโถกเถก
              อุปกรณ์
                -ไม้ไผ่กิ่ง  2 ลำ
              วิธีการเล่น
                 ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรงๆที่มีกิ่งสองลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางท้าต้องเสมอกันทั้งสองข้างผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยกข้างนั้นส่วนมากเด็กๆที่เล่นมักจะมาแข่งขังกันใครเดินได้ไว้และไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ

การละเล่นเดินกุ๊บกั๊บ
              อุปกรณ์
                 -กะลามะพร้าวผ่าครึ่ง
                   -เชือกที่เหนียวพอประมาณ 1  เส้นมีความยาวพอประมาณที่จะใช้มือดึงในขณะที่ยืนอยู่ได้  
                 -ตะปูหรือไม้ที่แข็งแรง
                วิธีการประดิษฐ์
                   1.เอากะลามะพร้าวมาผ่าครึ่งคู่หนึ่งวางคว่ำลงกับพื้น เจาะรูที่ก้นกะลาทั้งสองข้าง
                
6
                2.หาเชือกที่เหนียวพอประมาณมาหนึ่งเส้นมีความยาวพอประมาณที่จะใช้ดึงในขณะที่ยืนอยู่ได้ ปลายเชือกแต่ละข้างร้อยรูกะลาที่เจาะไว้
                3.ใช้ตะปูหรือไม้ที่แข็งแรงผูกปลายเชือกที่ร้อยกะลาไม่ให้เชือกหลุดจากกะลา
             วิธีการเล่น
                เวลาเล่นให้ใช้เท้าเหยียบลงบนกะลาทั้งสองข้างให้เชือกตึงอยู่ระหว่างหัวแม่เท้าเวลาเดินดึงเชือกให้ตึงกะลาติดท้าไปด้วยกะลากระทบพ้นมีเสียงดังกุ๊บกั๊บหรือก๊อบแก๊บ

การละเล่นจากช้อนใบ
              อุปกรณ์
                -ผ้าขาวม้าฟั่นเกลียวให้แน่นใช้สำหรับตี
              วิธีการเล่นหนุ่มสาวยืนลอบวงเป็นวงกลมซ้อนกันเป็นสองวงคนหน้าและคนหลังยืนตรงกันเรียกคนหน้าว่าจานใบที่หนึ่งและเรียกคนหลังว่าจานใบที่สองจะมีคนเกินอยู่หนึ่งคนและคนไล่หนึ่งคนเมื่อเริ่มคนที่เป็นเศษจะต้องวิ่งไปซ้อนหน้าคนที่ยืนซ้อนกันอยู่แล้วเมื่อซ้อนเข้าไปแล้วคนที่อยู่หลังสุดก็จะกลายเป็นเศษหรือจานใบที่สามก็จะถูกไล่ตีเพราะฉะนั้นคนที่เป็นคนที่สามจะต้องวิ่งหนีเพื่อซ้อนคนอื่นต่อไป






7
การละเล่นชักเย่อ
          อุปกรณ์
           -เชือก
          วิธีการเล่น
           แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกกันเมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดนหัวแถว(ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลักถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก)ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับเชือกยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือเชือกจะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดนลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อๆกันเริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในเขตแดนฝ่ายใดหลุดล้ำถือว่าเป็นฝ่ายแพ้พอจบก็เริ่มเล่นใหม่

การละเล่นสะบ้าล้อ
           อุปกรณ์
             -สะบ้าตั้ง(สะบ้าแก่น)ซึ่งเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่ง
           วิธีการเล่น
             แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายฝ่ายละกี่คนก็ได้โดยทั่วไปจะประมาณเจ็ดคนสนามที่ใช้จะต้องเป็นดินอัดแน่นขนามกว้าง7x14เมตรฝ่ายใดจะเป็นผู้เล่นก่อน-หลังขึ้นอยู่กับการตกลงกันก่อนเล่นผู้เล่นก่อนจะลงมือเล่นไปตามถ้าที่กำหนดผู้เล่นทีหลังจะเป็นผู้เฝ้าดูอยู่ใกล้กับแถวสะบ้าตั้งให้ฝ่ายตรงเล่นไปตามกติกาท่าที่นิยมเล่นมรอยู่7ท่าดังนี้
             1.ท่าล้อนิ่งนำสะบ้าวางบนมือแล้วล้อไปข้างหน้าเมื่อสะบ้าหยุดล้อให้ผู้เล่นเอาส้นเท้าวางบนสะบ้าแล้วหยิบสะบ้าล้อขึ้นมาวางบนเข่าดีดให้ถูกสะบ้าตั้ง
               2.ท่าล้อปากเป่าทำเช่นเดียวกับท่าล้อนิ่งแต่ต้องวิ่งไปตามเป่าสะบ้าด้วยเมื่อสะบ้าหยุดให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่หนึ่ง
8
             3.ท่าแพนดีดนำสะบ้าล้อวางบนมือด้านหงายขึ้นใชัมือทอยไปข้างหน้าสะบ้าหยุดที่ใดดีดเช่นเดียวกับท่าที่หนึ่ง
            4.ท่าหกโน้นดีดใช้เท้าทั้งสองข้างหนีบลูกสะบ้าให้อยู่ระหว่างส้นเท้าโน้นตัวลงเอามือทั้งสองข้างเท้าพื้นยกส้นเท้าสะบัดให้สะบ้าข้ามศีรษะไปเมื่อล้อไปหยุดที่ใดให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่หนึ่ง
           5.ท่าหกโน้นพ้นทำเช่นเดียวกับท่าที่สี่แต่ต้องทำให้สะบ้าล้อเลยแถวสะบ้าตั้ง
           6.ท่าหนึ่งรองหงายเอาสะบ้าล้อวางบนพื้นดินให้ด้ายหงายขึ้นหาเศษอิฐ หิน เศษไม้มาหนุนให้มุมด้ายใดด้ายหนึ่งกระดกขึ้นแล้วใช้หัวแม่เท้าทั้งสองข้างเกี่ยวกันดีดสะบ้าไปข้างหน้าสามครั้งครั้งที่สามให้ถูกสะบ้าตั้งพอดี
          7.ท่าหนึ่งรองคว่ำทำเช่นเดียวกับท่าที่หกแต่วางสะบ้าล้อคว่ำ

การละเล่นตะกร้อลอดบ่วง
            อุปกรณ์
             -ตะกร้อ
             -บ่วง
วิธีการเล่น
     1.ลูกหน้าเท้า  (ลูกแปร)                  3  คะแนน
     2.ลูกหลังเท้า                                  15 คะแนน
     3.ลูกเข่า                                          6  คะแนน
     4.ลูกศีรษะ                                     10 คะแนน
     5.ลูกไหล่                                       12 คะแนน
9
     6.ลูกข้าง                                         6  คะแนน
     7.ลูกบ่วงมือ                                   12 คะแนน
     8.ลูกแข้ง                                         6  คะแนน
     9.ลูกตัดไขว้                                   25 คะแนน
     10.ลูกไขว้หน้า                               25 คะแนน
     11.ลูกขึ้นม้าธรรมดา                       8  คะแนน  
     12.ลูกขึ้นม้าบ่วงมือ                        15 คะแนน
     13.ลูกพับเพียบธรรมดา                   8  คะแนน
     14.ลูกพับเพียบบาวงมือ                 15 คะแนน
     15.ลูกไขว้เข่า                                 20 คะแนน
     16.ลูกตบไขว้                                 15 คะแนน
     17.ลูกไขว้ส้น                                 20 คะแนน
     18.ลูกไขว้ส้นบ่วงมือ                     25 คะแนน
     19.ลูกศอกหลัง                               10 คะแนน
     20.ลูกข้างหลังธรรมดา                   15 คะแนน
     21.ลูกข้างหลังบ่วง                         20คะแนน
     22.ลูกตบหลัง                                20 คะแนน
     23.ลูกตบหลังบ่วง                         25 คะแนน
     24.ลูกเส้นหลังตรง                        30 คะแนน
   10
  25.ลูกเส้นหลังบ่วง                        35 คะแนน
  26.ลูกพับหลังบ่วง                         40 คะแนน  เป็นลูกที่คะแนนสูงสุด

การละเล่าหมากเก็บ
      อุปกรณ์
      -หิน
วิธีการเล่น
          มี  9  ขั้นตอน  คือ  หมาก  1  หมาก  2  หมาก  3  หมาก  4  หมากจุ๊บ  หมากเล็กใหญ่  หมากคาย    หมากแกง  และหมากล้าน  ผู้เล่นาจะต้องตกลงกันก่อนว่าจะเล่นสิ้นสุดเกมที่หมากใดแล้วแต่ความสามารถของคู่แข่งขันถ้าความสามารถน้อยจะสิ้นสุดที่หมาก  4  หากความสามารถมากขึ้นก็อาจจบที่หมากจุ๊บหมากเล็กใหญ่หมากคายและหมากแกงเป็นต้น  แต่จะจบเกมที่ขั้นใดก็ตามจะต้องลงท้ายด้วยหมากล้านเสมอ  ระหว่างการเล่นจะต้องเล่นให้ถูกต้องคือจะต้องรับก้อนหินที่โยนขึ้นไปให้ได้และจะต้องหยิบก้อนหินที่พื้น  โดยไม่ให้ก้อนอื่นสะเทือนหรือไหว  หากรับไม่ได้หรือเล่นแล้เกิดการไหวก็จะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นต่อ







11
บทที่  3
วิธีการดำเนินการ
            รายงานเรื่อง  การละเล่นของไทย  ผู้จัดทำได้ดำเนินการ  ดังนี้
วิธีการดำเนินการ
            รายงานเรื่อง  การละเล่นของไทย  วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า  ดังนี้
            1.ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน
            2.ผู้ศึกษาร่วมมือกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงงาน
          3.ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆดังนี้  หนังสือเรียน  หนังสือพิมพ์  และสื่อต่างๆ  และจากอินเทอร์เน็ต
            4.ศึกษาและเก็บข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน
            5.นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน
            6.จัดทำคูมือเพื่อใช้สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา






12
บทที่  4
ผลการดำเนินกาน
            รายงานเรื่อง  การละเล่นของไทย  มีผลการดำเนินการ
            ผลการดำเนินการ  การละเล่นหมายถึง  การกระทำหรือกิจกรรมใดๆ  ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจซึงมักมีกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่ายๆไม่สลับซับซ้อนมากนัก
            ที่มาและความสำคัญ
           การละเล่นโพงพาง  เบี้ยขี่โกง  ยก  เป็นการเล่นของภาคเหนือ
           การละเล่นเป่ากบ  กำทาย  มอญซ่อนผ้า  เป็นการละเล่นของภาคใต้
           การละเล่นวิ่งขาโถกเถก   เดินกุ๊บกั๊บ  จานช้อนใบ  เป็นการละเล่นของภาคอีสาน
           การละเล่นชักเย่อ  สะบ้าล้อ  ตะกร้อลอดห่วง  หมากเก็บ  เป็นการละเล่นของภาคกลาง
            ความสำคัญของการละเล่น
            การละเล่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกภาษาไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดการละเล่นทำให้มนุษย์ได้ผ่อนคลายความเครียดจากงานในชีวิตประจำวันนอกจากนั้นยังมีการเสริมสร้างการออกกำลังกายให้แข็งแรงกับสมองให้มีสติปัญญาแหลมคมมีจิตใจเบิกบานสนุกสนานร่าเริงทั้งยังทำให้เกิดความสัมพันธ์กันดีในหมู่มวลมนุษย์





 13   
บทที่  5
สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
            รายงานเรื่อง  การละเล่นของไทย  สามารถสรุปและอภิปรายผล
            จากการที่ขณะผู้จัดทำได้มีความสนใจศึกษาการละเล่นของไทยตามวัตถุประสงค์คือเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการละเล่นของไทย  โดยแบ่งตามภาคของประเทศไทยได้แก่  ภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ภาคกลาง  ภาคใต้  ซึ่งพบว่าการละเล่นของไทยมีจำนวนมากซึ่งมีการถ่ายทอดการละเล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

            อภิปรายผล
            การละเล่น  หมายถึง  การกระทำหรือกิจกรรมใดๆที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจซึงมักมีกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่ายๆไม่สลับซับซ้อนมากนัก

            ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม
2.มีความรู้เกี่ยวกับการละเล่นของไทย
3.มีความเข้าใจเกี่ยวกับกติกาการเล่นเพื่อนำมาเล่นในชีวิตประจำวัน
4.ได้ฝึกทักษะในการละเล่นพื้นบ้านของไทยของแต่ละภาคที่มีความแตกต่างกันไป
5.เยาวชนไทยได้เห็นคุณค่าและหันมาล่นการละเล่นไทยมากขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานการละเล่นของไทยสืบต่อไป

                                                                                                                                                                                                14
            ข้อเสนอแนะ
1.ควรศึกษาการละเล่นของไทยให้มากขึ้นกว่านี้เพื่อเป็นแนวทางศึกษาแก่เยาวชน
2.ควรจัดทำแผ่นพับหรือลงผลการศึกษาค้นคว้าลงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อดึงดูดความสนใจจากเยาวชนมากขึ้น
3.ควรเผยแพร่หรือทำกิจกรรมเล็กๆให้แก่เยาวชนตามโรงเรียนหรือชุมชน















15








บรรณานุกรม









16
บรรณานุกรม
นลิน  คู. การละเล่นของเด็กไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ แสงแดดเพื่อนเด็ก, 2552.
Lenthai.ueuo.com/page3.html
Kanchanapisek.or.th/kp6/…/t 13-7-11.htm
Lms.thaicyberu.go.th/…/north.htm
Lms.thaicyberu.go.th/…/center.htm





 
         






17
ภาคผนวก


18
แบบสอบถามความคิดเห็น
คำอธิบาย    ขอความร่วมมือจากนักเรียนทุกคนตอบแบบสอบถาม   โดยใส่เครื่องหมาย ü  ลงในช่องที่ตรงกับข้อมูลส่วนตัวและระดับความคิดเห็น  โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดทำโครงงานในโอกาสต่อๆ  ไป

ตอนที่ 1                 ข้อมูลส่วนบุคคล
                1.  เพศ
                                          ชาย                                                                                               หญิง

                2. อายุ
                                                ต่ำกว่า 20 ปี                

               
                ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
1.นักเรียนคิดว่า วัน เวลาที่ใช้ในการจัดการทำโครงงาน





2.นักเรียนคิดว่าระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำโครงงานเหมาะสมเพียงใด





3.นักเรียนคิดว่าการจัดโครงงานเรื่องการละเล่นของไทยมีประโยชน์หรือไม่





4.นักเรียนคิดว่าการจัดทำโครงงานใช้เนื้อหาและภาษาถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่รเหมาะสมในแต่ละบทบาทที่ได้รับ






                   ข้อเสนอแนะ และ ความคิดเห็นอื่นๆ
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


10 ความคิดเห็น:

  1. พีรเดช : ทำไมนักเรียนจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องการละเล่นของไทยเพราะอะไรจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพราะทุกวันนี้มีการมองข้ามการละเล่นของไทยทางเราจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการอนุรักษ์การละเล่นของไทย

      ลบ
  2. อำนาจ : จากการที่นักเรียนศึกษาเรื่องนี้นักเรียนชอบการละเล่นอะไรมากที่สุดเพราะอะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ชักเย่อ เพราะมีความสนุกสนาน สามารถคลายเครียดได้ และยังสามารถช่วยให้เรามีความรักสามัคคีในหมู่คณะ การละเล่นชักเย่อนั้นสามารถทำให้สุขภาพร่างกายเเข็งเเรงได้ รู้จักการให้อภัย ผมจึงชอบการละเล่นนี้

      ลบ
  3. จันทร์จิรา : นักเรียนคิดว่าการละเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อนกับการใช้เทคโนโลยีในสมัยนี้เช่นการเล่มเกมส์ของเด็ก ๆนักเรียนคิดว่าการเล่นแบบใดดีที่สุด จงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การละเล่นเเบบ สมัยก่อน เพราะ การละเล่นสมัยก่อนนั้นเป็นการเล่นที่เราสามารถเข้าถึงกับเพื่อนๆได้ ทำให้เรามีความสนุกสนานที่เเท้จิง มีเสียงหัวเราะ มีการพูดคุยกัน เป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีกับเพื่อนๆค่ะ

      ลบ
  4. ปัจจิมาภรณ์ : นักเรียนมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เยาวชนไทยหันมาสนใจการละเล่นพื้นบ้านของไทยให้มากกว่านี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จัดทำสื่อต่างๆ เเละเผยเเพร่การละเล่นของไทยให้ดูมีสีสันเเละความน่าสนใจมากขึ้น หรือถ้ามีโอกาสจะจัดนิททรศการเกี่ยวการละเล่นของไทยเพื่อดึงดูดให้เยาวชนไทยหันมาสนใจมากขึ้น

      ลบ
  5. ภูวนาถ : นักเรียนเคยเล่นการละเล่นพื้นบ้านประเภทไหนบ้าง และคิดว่ามีวิธีการเผยแพร่การละเล่นนั้นอย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เป่ากบ วิธีการเผยเเพร่ ทำสื่อเผยเเพร่การละเล่นเป่ากบ เพื่อดึงดูดความสนใจที่จะหันมาเล่นการละเล่นเป่ากบ มากขึ้น ครับ

      ลบ