วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีและวันสำคัญ ม. 4/1



ประเพณีและวันสำคัญ

Tradition and Holidays

 

โดย
       นายเถลิงศักดิ์    สิงหามาตย์               เลทที่ 3

                                                     นายสรศักดิ์        พระใหม่งาม              เลขที่ 4

      นายพิรุณ                   ตินานพ            เลขที่ 19

                                                    นางสาวเสาวภา     หงษ์ขวาง               เลขที่ 22

                                                     นางสาวนฤมล       ถือชัย                    เลขที่ 25

                                              นางสาวอนุสรา      อร่ามเรือง      เลขที่ 29

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

 

โรงเรียนตานีวิทยา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุรินทร์ เขต33

 

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้ารายวิชา I30202

การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation)

ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556

ประเพณีและวันสำคัญ

Tradition and Holidays

 

 

โดย
นายเถลิงศักดิ์             สิงหามาตย์    เลทที่ 3

                                                   นายสรศักดิ์            พระใหม่งาม        เลขที่ 4

นายพิรุณ               ตินานพ            เลขที่ 19

                                                    นางสาวเสาวภา     หงษ์ขวาง         เลขที่ 22

                                                    นางสาวนฤมล       ถือชัย                เลขที่ 25

                                                   นางสาวอนุสรา      อร่ามเรือง          เลขที่ 29

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

 

 

โรงเรียนตานีวิทยา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุรินทร์ เขต33

 

 

 

ครูที่ปรึกษา

นางปัณพิชชา   บรรเลง

 

กิตติกรรมประกาศ

รายงานเรื่อง  ประเพณีและวันสำคัญ Tradition and Holidays  ฉบับนี้  ได้รับความสนับสนุนจากนายสมโภชน์  สุขเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนตานีวิทยา นางอำนวย ธรรมธุระ  รองผู้อำนวยการโรงเรียนตานีวิทยา และ นายทศพร สระแก้ว รองผู้อำนวยการโรงเรียน   ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้

            ขอขอบพระคุณ คุณครู ปัณพิชชา   บรรเลง  ครูที่ปรึกษา  ที่ได้ให้คำแนะนำและคอยให้ความช่วยเหลือในการทำรายงานจนสำเร็จลุล่วง  และขอขอบคุณคณะครูทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

            ขอขอบพระคุณบิดามารดาของคณะผู้จัดทำ ที่ให้การสนับสนุนในการศึกษาเล่าเรียน  และคอยเป็นกำลังใจที่ให้เสมอมา

 

                                                                                                                      คณะผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

เรื่อง                                                                                                                                      หน้า

บทที่ 1 1

แนวคิดที่มาและความสำคัญ                                                                            1

วัตถุประสงค์                                                                                                   1

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ                                                                      1

ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                         1

 

บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                      2

1. ปฏิทิน ประเพณี 12 เดือน                                                                             2

2. วันสำคัญ                                                                                                    3

3. วันสำคัญของเรา                                                                                          4

 

บทที่ 3 วิธีดำเนินการ                                                                                                               5

 

บทที่ 4  ผลการดำเนินการ                                                                                                       6

 

บทที่ 5 สรุปผล  อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ                                                                         7

สรุปผล                                                                                                            7

อภิปรายผล                                                                                                      7

ข้อเสนอแนะ                                                                                                     8

บรรณานุกรม

 

 

 

 

บทที่ 1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ

              ประเพณีและวันสำคัญเป็นกิจกรรมที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับว่ามีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทยอย่างมาก ซึ่งแต่ละประเพณีและวันสำคัญจะมีกิจกรรมให้ปฏิบัติหลากหลาย

             คณะผู้จัดทำสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประเพณีและวันสำคัญต่างๆของต่ละท้องถิ่น เพื่อทำให้ผู้ศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจประเพณีและวันสำคัญต่างๆมากขึ้น

             คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องที่ศึกษาจะใช้สื่อเป็นการเรียนการสอน เพื่อทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อและกระตือรือร้นมากขึ้น

วัตถุประสงค์

รายงานเรื่องประเพณีและวันสำคัญมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้

1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในประเพณีและวันสำคัญต่างๆมากขึ้น

 2. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีและวันสำคัญต่างๆ

 3. เพื่ออนุรักษ์ประเพณีและวันสำคัญให้สืบต่อจนถึงปัจจุบัน

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ

                รายงาน เรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่ วันที่ 23 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง วันที่ 17 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 สถานที่ดำเนินการได้แก่

โรงเรียนตานีวิทยา, บ้านนฤมล ถือชัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

         1. ได้รับความรู้เรื่องประเพณีและวันสำคัญ

         2. สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสมตามประเพณีและวันสำคัญ

         3. ผู้ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

 

 

 

 

 

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                     รายงาน เรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้

           1. ปฏิทิน ประเพณี 12 เดือน

            2. วันสำคัญ

            3. วันสำคัญของเรา

วันสงกรานต์

คำว่า สงกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือ การย้ายที่เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์อย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึง วันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนของทุกปี แต่สงกรานต์นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 วันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก

ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์ มีดังนี้

สงกรานต์         แปลว่า ก้าวขึ้น““ ย่างขึ้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์

                        ที่ เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่า สงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือน แล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก  

                        จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็นวันปีใหม่ทางสุริยคติในทาง

มหาสงกรานต์  แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียวกล่าว

                      คือสงกรานต์หมายได้ทั้ง สงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง

                      สงกรานต์ปีอย่างเดียว

วันเนา              แปลว่า วันอยู่  คำว่า เนา แปลว่า อยู่ หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์ 

                       มา 1  วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนา เป็นวันที่ดวง

                       อาทิตย์เข้าที่เข้าทางในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว

วันเถลิงศก       แปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เลื่อนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ถัด

                      จากวันมหาสงกรานต์ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี

                       ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่

                       จะเปลี่ยนศก ถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3  ก็หมายความว่า

                       อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศา แล้ว อาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้

 

วันครู

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน  ผู้ถ่ายทอดความรู้  ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา  และพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

วันเด็กแห่งชาติ   ( วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี)

                         ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 

ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ ดังนี้ 

  เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก

                          เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

                          เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์

  ความเป็นมาของวันเด็ก

  เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง เด็กจึงควรเตรียมตัวที่จะเป็นกำลังของชาติด้วย การขยันหมั่นศึกษาหาความรู้และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็งตั้งใจทำงานด้วยความรับผิดชอบยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนมีความเมตตากรุณาช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น

 

 

 

วันศิลปินแห่งชาติ   ( 24 กุมภาพันธ์)

    วันศิลปินแห่งชาติ หมายถึง วันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธ

เลิศหล้านภาลัย   ผู้ทรงเป็นปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งด้านกวีนิพนธ์ ดนตรี และปะติมากรรม

                             ความเป็นมา 

                             สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เริ่มจัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ด้วยพิจารณาเห็นว่าศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นมงคลล้ำค่าของแผ่นดินนั้น สมควรได้รับการยกย่องส่งเสริม สนับสนุนให้มีโอกาสใช้ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าไว้เป็นสมบัติของสาธารณชน และควรได้รับการอุปถัมภ์ช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ

                 รายงาน เรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ ผู้จัดทำได้ดำเนินการ ดังนี้

วิธีดำเนินการ

               รายงานเรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ มีวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้

               ผู้ศึกษาเลือกกลุ่มแล้วให้สมาชิกในกลุ่มเสนอหัวข้อที่ตนเองสนใจ และปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม  จึงได้หัวข้อเรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ

ขั้นตอนการดำเนินการ

             1. ผู้ศึกษานำเสนอขัวข้อรายงายต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำ และกำหนดขอบเขตในการทำรายงาน

              2. ผู้ศึกษาร่มกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของรายงาน

              3. ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ ดังนี้  หนังือปฏิทิน ประเพณี 12 เดือน วันสำคัญ และวันสำคัญของเรา

              4. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายงาน เพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำรายงาน

             5. นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินการ

 6. จัดทำคู่มือเพื่อใช้สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 4ผลการดำเนินการ

     รายงาน เรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ มีผลการดำเนินการ ดังนี้

                 ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น

                   วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆในอดีต

     และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ รัฐ - ชุมชน หรือหน่วยงานจึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้นด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา

ผลการดำเนินการ

              1. ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในประเพณีและวันสำคัญต่างๆมากขึ้น

              2. ผู้ศึกษารู้ประวัติความเป็นมาของประเพณีและวันสำคัญต่างๆมากขึ้น

              3. ผู้ศึกษาได้เผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีและวันสำคัญให้คงอยู่สืบต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 5
สรุป  อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

รายงาน เรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ สามารถสรุปและอภิปรายผลการดำเนินการ  ดังนี้

        สรุปผล

            การจัดทำรายงาน เรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ สามารถสรุปได้  ดังนี้

            จากการที่คณะผู้จัดทำได้มีความสนใจประเพณีและวันสำคัญ ตามวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีและวันสำคัญ  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ยึดถือปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  ได้ศึกษาจากหนังสือปฏิทินประเพณี 12 เดือน  วันสำคัญ และวันสำคัญของเรา เป็นต้น  ซึ่งพบว่าวันสำคัญและประเพณีมีหลากหลายกิจกรรมให้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งแต่ละเดือนมีกิจกรรมให้ปฏิบัติอย่างหลากหลาย  ดังนั้น  ผู้ศึกษาจึงเลือกที่จะศึกษาประเพณีและวันสำคัญที่สนใจ  และผู้ที่สนใจก็สามารถดูได้หรือค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากบรรณานุกรมท้ายเล่ม

อภิปรายผล

              จากการศึกษาค้นคว้ารายงานเรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ สามารถอภิปรายผลได้  ดังนี้

              ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น

                วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ รัฐ - ชุมชน หรือหน่วยงานจึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้นด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา

ข้อเสนอแนะ

               การจัดทำรายงานเรื่อง ประเพณีและวันสำคัญ  มีข้อเสนอแนะ  ดังนี้

               จากการศึกษา  ประเพณีและวันสำคัญ  มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรายงาน คือ

 

 

 

               1. เนื่องจากเนื้อหาประเพณีและวันสำคัญ อาจมีจำนวนมากในการศึกษาครั้งนี้  ผู้ศึกษาอาจจะหรือยกเนื้อหาของประเพณีและวันสำคัญ

               2.ควรมีการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ทางเว็บไซต์ในโอกาสต่อไป

               3. นำผลจากการศึกษา  ประเพณีและวันสำคัญ ไปสร้างเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

ประชิด    สกุณะพัฒน์   และคณะ. วันสำคัญ.กรุงเทพฯ :

              ภูมิปัญญา,2549

สมบัติ     จำปาเงิน. วันสำคัญของเรา.กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2547

อุดม       เชยกีวงศ์.ปฏิทินประเพณี 12 เดือน.กรุงเทพฯ :

               ภูมิปัญญา, 2547

 

 

14 ความคิดเห็น:

  1. สรศักดิ์ : ทำไมนักเรียนจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้เพราะอะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในประเพณีและวันสำคัญต่างๆมากขึ้น

      2. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีและวันสำคัญต่างๆ

      3. เพื่ออนุรักษ์ประเพณีและวันสำคัญให้สืบต่อจนถึงปัจจุบัน

      ลบ
  2. พิรุณ : ประเพณีทีี่นักเรียนยึดถือปฏิบัติตามกันมามีประเพณีอะไรบ้างและปฏิบัติอย่างไร

    ตอบลบ
  3. เสาวภา : ประเพณีและวันสำคัญเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา แต่วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ รัฐ - ชุมชน

      ลบ
  4. นฤมล : ประเพณีอะไรที่นักเรียนชอบมากที่สุดและนักเรียนปฎิบัติตัวอย่างไรในวันนั้น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. วันสงกรานต์ ปฏิบัติตามประเพณี คือ 1. รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ 2. ไปทำบุญกับครอบครัว

      ลบ
  5. อนุสรา : ในวันสำคัญต่าง ๆนักเรียนเคยปฏิบัติตัวอย่างไรในวันสำคัญนั้น ๆ ยกตัวอย่าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1. ทำหน้าที่ในการเป็นศิษย์ที่ดีตั้งใจเรียน ไหว้ครู
      2. ไปทำบุญตักบาตรที่วัด ในวันสำคัญต่างๆ
      3.รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

      ลบ
  6. ไม่มีคำถามของ นายเถลิงศักดิ์ สิงหามาตย์

    ตอบลบ
  7. เถลิงศักดิ์ :.ในชีวิตประจำวันของเราเราเคยปฎิบัติตามประเพณีและวันสำคัญหรือไม่ถ้าเคยจงยกตัวอย่าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เคย เช่นวันสงกรานต์ วันครู วันเด็ก

      ลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. Golden Nugget Casino Resort - MapyRO
    Golden Nugget Casino 영천 출장마사지 Resort Address: 777 보령 출장마사지 Casino Center 광주광역 출장안마 Boulevard, Las Vegas, 서산 출장샵 NV 경주 출장안마 89169, USA. Phone: 702-770-3100. Website: https://www.goldennuggetcasinoresort.com/.

    ตอบลบ