วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การละเล่นของเด็กไทย ม.4/4

การละเล่นของเด็กไทย

(Childre’s  Play  Thailand)

 

 

โดย

1.นายชัยวิสิทธิ์    กระแสเทพ   เลขที่ 2

2.นายพีระพงษ์         ทรงราศี   เลขที่ 8

3.นางสาวนุชนารถ  ผดุงแดน เลขที่ 16

4.นางสาวพรรณธิชา   พรชัย  เลขที่ 17

5.นางสาวศิริพร     ช่วยรัมย์   เลขที่ 21

6.นางสาวสุธาสินี  แสนกล้า  เลขที่ 24

7.นางสาวฐิติมา           ทุนดี   เลขที่ 27

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4

 

 

โรงเรียนตานีวิทยา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33

 

 

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกาค้นคว้ารายวิชา I30202 การสื่อสารและการนำเสนอ(Communication and Presentation)

ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556

 

 

การละเล่นของเด็กไทย

(Childre’s  Play  Thailand)

 

 

โดย

1.นายชัยวิสิทธิ์    กระแสเทพ   เลขที่ 2

2.นายพีระพงษ์         ทรงราศี   เลขที่ 8

3.นางสาวนุชนารถ  ผดุงแดน เลขที่ 16

4.นางสาวพรรณธิชา   พรชัย  เลขที่ 17

5.นางสาวศิริพร     ช่วยรัมย์   เลขที่ 21

6.นางสาวสุธาสินี  แสนกล้า  เลขที่ 24

7.นางสาวฐิติมา           ทุนดี   เลขที่ 27

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4

 

 

โรงเรียนตานีวิทยา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33

 

ครูที่ปรึกษา

นางปัณพิชชา    บรรเลง

 

กิตติกรรมประกาศ

       

          รายงานเรื่อง การละเล่นของเด็กไทย(Children’s Play Thailand)ฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจาก       นายสมโภชน์  สุขเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนตานีวิทยา และ พ่อ แม่ เพื่อน คุณครู ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้

          ขอขอบพระคุณ นางปัณพิชชา  บรรเลง ครูที่ปรึกษาที่ได้ให้คำแนะนำ และคอยช่วยเหลือการจัดทำรายงานสำเร็จลุล่วงและขอขอบคุณคะครูทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

          ขอขอบพระคุณบิดามารดาของคณะผู้จัดทำที่ให้การสนับสนุนในการศึกษาเล่าเรียนและคอยเป็นกำลังใจให้เสมอมา

 

 

คณะผู้จัดทำ

 

สารบัญ

หน้า

บทที่ 1 บทนำ.................................................................................................................................................1

           แนวคิดที่มาและความสำคัญ................................................................................................................1

          วัตถุประสงค์.........................................................................................................................................1

          ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ..........................................................................................................1

          ผลที่คาดว่าจะได้รับ..............................................................................................................................1

 

บทที่ 2 เอกสารอ้างอิง.....................................................................................................................................2

          การละเล่นของเด็กไทย.........................................................................................................................2

          การเล่นหมาเก็บ....................................................................................................................................2

          มอญซ่อนผ้า..........................................................................................................................................3

          ลิงจับหลัก(ลิงชิงหลัก)..........................................................................................................................3

          วิ่งเปี้ยว..................................................................................................................................................4

          ลิงชิงบอล.............................................................................................................................................4

          ขี่ม้าส่งเมือง..........................................................................................................................................5

          ม้าก้านกล้วย.........................................................................................................................................5

          การละเล่นเป่ากบ.................................................................................................................................5

          การละเล่นว่าว......................................................................................................................................6

 

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน...............................................................................................................................7

 

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน...............................................................................................................................8

 

บทที่ 5 สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ.........................................................................................................10

          สรุปผลการศึกษา................................................................................................................................10

          อภิปรายผล.........................................................................................................................................10

          ข้อเสนอแนะ.......................................................................................................................................10

บรรณานุกรม................................................................................................................................................11

ภาคผนวก.....................................................................................................................................................12


1

 

บทที่ 1

บทนำ

 

แนวคิดที่มาและความสำคัญ

          ในปัจจุบันการละเล่นของเด็กไทยนั้นได้เริ่มสูญหายไปจากคนไทย การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบันมีไว้แค่เพื่อแสดงโชว์เวลามีงานหรือมีกิจกรรมเพื่อให้ชาวต่างชาติดูเท่านั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าเคลือบแครงใจเป็นอย่างมากเพราะเด็กไทยในปัจจุบันเลิกสนใจการละเล่นพื้นบ้านกลับไปสนใจนวัตกรรมใหม่และโลกเทคโนโลยีการสื่อสาร

 

วัตถุประสงค์

     -เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการละเล่นของเด็กไทย

     -เพื่อต้องการให้เด็กไทยหันมาสนใจการละเล่นของเด็กไทยมากขึ้น

     -เพื่อต้องการให้เด็กไทยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ

          รายงานเรื่อง การละเล่นของเด็กไทย ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่วันที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2556 สถานที่ดำเนินการ ได้แก่ โรงเรียนตานีวิทยา

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     1.ความรู้เกี่ยวกับความหมายและการละเล่นของเด็กไทย

     2.ความสำคัญของการละเล่นของเด็กไทย

     3.การละเล่นของเด็กไทยมีอะไรบ้าง

     4.วิธีการเล่นหมากเก็บ

2

 

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

การละเล่นของเด็กไทย

          การละเล่นของเด็กไทยเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานที่มีมาแต่สมัยสุโขทัยแต่ที่ปรากฏในบทละครเรื่องมโนราครั้งกรุงศรีอยุธยาคือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน การละเล่นของไทยแต่เดิมมาและบางอย่างยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้หากมีการสืบทอดวิธีการเล่นบางอย่างที่ดีงามให้เข้ากับยุคสมัยก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคมไทยไม่เฉพาะแต่การพัฒนาบุคคลเท่านั้นยังช่วยพัฒนาสังคมอีกด้วย

          การละเล่นของเด็กไทย หมายถึง การเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่เพื่อความบันเทิงใจทั้งที่เป็นการเล่นที่มีกติกาและไม่มีกติกา ไม่มีบทร้องประกอบหรือมีบทร้องประกอบให้จังหวะ บางทีก็มีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานมากขึ้นทั้งผู้เล่นและผู้ชมมีส่วนร่วมสนุก

 

การเล่นหมากเก็บ

 จำนวนผู้เล่น 2-4 คน

อุปกรณ์ 1.ก้อนกรวด 2.กระดานไม้

          วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อนเสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อนโดยวิธีขึ้นร้านคือ ถือหมากทั้ง 5 เม็ดไว้แล้วโยพลิกหงายหลังมือรับแล้วพลิกมือกลับรับอีกทีใครเหลือหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อนมีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆกันเลือกลูกนำไว้ 1 เม็ดควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างกันที่สุดโยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ถ้ารับไม่ได้ถือว่าตายขณะหยิบถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่าตาย หมากเก็บที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด หมากที่ 4 ใช้โปะไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือโยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ ขึ้นร้านได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้นถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมดใช้หลังมือรับไม่ได้ถือว่าตายไม่ได้แต้มคนอื่นเล่นต่อไปถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้นส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้มเมื่อแต้มใกล้จะครบเวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนดถ้าเกินไม่เท่าไรหมายความว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้นวิธีเล่นหมากเก็บนี้พลิกแพลงหลายอย่างเช่นโยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ดเมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2-3-4 เม็ดตามลำดับหมาก 2-3-4 ก็เล่นเหมือนกันโยนขึ้นทั้งหมดเรียกว่าหมากพวกถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1-2-3-4แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียกหมากจุ๊บถ้าใช้มือข้างซ้ายป้องและเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1-2-3และ 4ตามลำดับเรียกว่าอีกาเข้ารังถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตายถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้นนิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตูเขี่ยหมากออกเรียกว่าอีกาออกรังถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือขดเป็นวงกลมนิ้วชี้ชี้ตรงนิ้วนอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปูเรียกว่ารูปูเมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทายผู้ชนะจะทายผู้แพ้ว่ามีกี่เม็ดถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า

3

 

กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้ายคนทายจะถือเม็ดไว้ในมือแล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบเมื่อร้องจบเอวมือหนึ่งกำไว้งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง

บทเพลงร้องประกอบคือ ตะลึงตึงตัง ข้างล่างห้า ข้างบนสิบ

 

มอญซ่อนผ้า

จำนวนผู้เล่น 8-12 คน

อุปกรณ์ 1.ผ้าหรือผ้าเช็ดหน้า

          วิธีเล่น ให้ผู้เล่นนั่งเป็นวงกลมทั้งสองฝ่ายนั่งคละสลับกันโดยปกติถ้าแบ่งเป็นชายฝ่ายหนึ่งหญิงฝ่ายหนึ่งจะให้ฝ่ายชายเป็นผู้ถือผ้าก่อนโดยให้ตัวแทนฝ่ายชายหนึ่งหรือ 2คนแล้วแต่ว่าจะมีผ้าอยู่ในกลุ่มของตนกี่ผืนยืนอยู่อกวงหรือจะให้ฝ่ายหญิงออกมาถือผ้าคละรวมกับฝ่ายชายด้วยก็ได้แต่จะต้องมีจำนวนผู้เล่นที่ออกมาฝ่ายละเท่ากันผู้เล่นที่นั่งอยู่ในวงต้องนั่งอยู่เฉยๆจะหันไปมองผู้ที่ถือผ้าอยู่นอกวงไม่ได้หรืจะบอกผู้หนึ่งผู้ใดที่ถูกซ่อนผ้าอยู่ไม่ได้ให้ผู้เล่นที่ถือผ้าอยู่นอกวงนั้นเดินรอบวงแล้วให้หาที่ซ่อนลูกตูมโดยซ่อนไว้ที่ข้างลำตัวของผู้เล่นทั่งอยู่เป็นผู้เล่นคนละฝ่ายกันหรืผู้เล่นเพศตรงข้ามแล้วเดินวนไปเรื่อยๆจนมาถึงตัวผู้ที่ถูกซ่อนลูกตูมเอาไว้ให้ตีผู้ที่ถูกซ่อนลูกตูมเอาไว้ให้ตีผู้ที่ถูกซ่อน 1 ทีด้วยลูกตูมแล้ววิ่งหนีหรือถ้าผู้เล่นที่ถูกซ่อนรู้สึกตัวให้วิ่งไล่ผู้เล่นที่นำลูกตูมมาวางแล้วพยายามให้ลูกตูมตีผู้เล่นผู้นั้นให้ได้ผู้เล่นที่นำลูกตูมไปซ่อนไว้ก็จะต้องวิ่งหนีรอบวงและพยายามวิ่งไปนั่งแทนที่ของผู้ที่ตนนำลูกตูมไปซ่อนเอาไว้ให้ได้ถ้าถูกตีเสียก่อนจักต้องมาทำหน้าที่เช่นเดิมแต่ถ้าวิ่งหนีไปนั่งทันผู้ที่ถูกซ่อนลูกตูมจักต้องทำหน้าที่แทนในการเล่นรอบต่อไปผู้ที่ถือลูกตูมจะต้องเดินหรือวิ่งไปรอบทางในทางเดียวกันผู้เล่นที่นั่งจะต้องนั่งเฉยๆไม่สามารถลุกเดินมือเปล่าไปมาได้หรือห้ามมองผู้เล่นที่เดินถือลูกตูมเมื่อผู้เล่นเดินจบครบรอบแล้วจะต้องซ่อนลูกตูมไว้ข้างหลังผู้เล่นที่นั่งอยู่แต่ต้องไม่ให้ลูกตูมอยู่ห่างจากตัวมากนักจะต้องซ่อนข้างหลังฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นจะซ่อนฝ่ายเดียวกันไม่ได้เช่นถ้าแบ่งเป็นฝ่ายหญิงและฝ่ายชายฝ่ายชายจะต้องซ่อนฝ่ายหญิงและฝ่ายหญิงจะต้องซ่อนฝ่ายชายเมื่อซ่อนแล้วจะต้องวิ่งหนีไปรอบๆวงกลมจะวิ่งย้อนทางหรือตัดวงไม่ได้อำนาจการตัดสินจะตกอยู่กับผู้ที่ถือลูกตูมเป็นหลักถ้าลูกตูมตกอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งหมดอำนาจการตัดสินชี้ขาดจะตกอยู่กับฝ่ายนั้น

 

ลิงจับหลัก(ลิงชิงหลัก)

จำนวนผู้เล่น เล่นได้ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป

อุปกรณ์ 1.ไม้หลักจำนวนน้อยกว่าผู้เล่นหนึ่งอัน

                       2.หลักแต่ละหลักห่างกันประมาณ 5-6 เมตร

                       3.ดูวัยของผู้เล่นเป็นเกณฑ์

           วิธีเล่นใช้เสาเรือนเป็นหลัก ผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน หลักมีจำนวนน้อยกว่าคนเล่นหนึ่งคน จะมีคนหนึ่งที่ไม่มีหลักจับ ผู้เล่นทั้งหลายสมมุติเป็นลิง วิ่งเปลี่ยนหลักกันจากหลักโน้นไปหลักนี้ ลิงที่ไม่มีหลักต้องคอย

4

 

ชิงหลักให้ได้ ถ้าชิงหลักของใครได้ คนนั้นต้องเป็นลิงหลักลอย คอยชิงหลักต่อไป การเล่นชนิดนี้ฝึกความสังเกต ความว่องไว ความมีไหวพริบ และเป็นการออกกำลังกายอย่างดี การเล่นลิงชิงหลักนี้มีในภาคใต้ บางทีก็เรียกว่า "หมาชิงเสา" ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า "จ้ำหนูเนียม" วิธีเล่นแตกต่างออกไป คือมีบทร้องประกอบว่า "จ้ำหนูเนียมมาเตรียมถูกหลัก" ผู้ที่ไม่มีหลักเรียกว่า คนจ้ำ จะร้องบทร้องบทนี้แล้วชี้ไปยังหลักต่างๆ ถ้าคำว่า "หลัก" ไปตกที่คนใด คนนั้นต้องรีบเปลี่ยนเสา คนอื่นจะวิ่งไปจับหลักและเสาต้นอื่น คนจ้ำก็ต้องพยายามแตะตัวคนวิ่งให้ได้ ถ้าใครถูกแตะตัวก็ต้องเป็นคนจ้ำแทน

 

วิ่งเปรี้ยว

 จำนวนผู้เล่น 6-8 คนขึ้นไป

 อุปกรณ์ 1.ผ้า 2 ผืน 2.หลักปักห่างกัน 10 เมตร

          วิธีเล่น แบ่งเพื่อนออกเป็น 2 ฝ่ายให้แต่ละฝ่ายยืนเข่าแถวหลังหลักโดยคนแรกถือผ้าไว้คนละผืนเริ่มโดยคนถือผ้ายืนข้างหลักพอกรรมการให้สัญญาณก็ออกวิ่งพร้อมกันวิ่งให้เร็วที่สุดไปอ้อมหลักของอีกฝ่ายเพื่อกลับมายังหลักของตนแล้วส่งผ้าให้เพื่อนคนต่อไปที่ยืนรอรับอยู่ต้องส่งผ้าหลังหลักและส่งมือต่อมือห้ามยื่นมือออกมารับผ้าหน้าหลักห้ามโยนผ้าให้กันเมื่อเพื่อนรับผ้าได้แล้วก็วิ่งอ้อมหลักของอีกฝ่ายเช่นเดิมถ้าฝ่ายใดสามารถวิ่งได้เร็วจนไล่ทันแล้วเอาผ้าตีอีกฝ่ายได้เป็นฝ่ายชนะขณะที่วิ่งถ้าผ้าหล่นจากมือผู้วิ่งต้องเก็บผ้าอย่างรวดเร็วแล้ววิ่งต่อ

 

ลิงชิงบอล

จำนวนผู้เล่น 5 คนขึ้นไป

อุปกรณ์ ลูกบอล 1 ลูก

          วิธีเล่น ผู้เป็นลิง 1 คนโดยการจับไม้สั้นไม้ยาวมีบอล 1 ลูกผู้เป็นลิงจะยืนตรงกลางที่เหลือจะยืนเป็นวงกลมล้อมรอบลิงในรัศมีที่กำหนดไม่กว้างนักคนใดคนหนึ่งถือลูกบอลส่งลูกบอลให้กับใครก็ได้ที่ยืนเป็นวงกลมด้วยการโยนการยื่นอย่างไรก็ตามลิงจะชิงบอลจากมือของผู้ถือบอลก็ได้หรือขณะที่ส่งบอลให้กับผู้อื่นแล้วลิงกระโดดรับลูกบอลปัดลูกบอลหรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของลิงโดนลูกบอลคนสุดท้ายที่จับลูกบอลจะต้องเป็นลิงแทนคนเป็นลิงจะได้ไปยืนล้อมวงจากนั้นจะเริ่มส่งลูกบอลใหม่ลิงจะชิงบอลเล่นเช่นนี้จนกว่าจะเลิกเล่น 
5

 

ขี่ม้าส่งเมือง

 จำนวนผู้เล่น 6-8 คน

อุปกรณ์ สนามหรือลานบ้าน

          วิธีเล่นแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกันและจะมีผู้เล่น 1 คนเป็น“เจ้าเมือง”แต่ละฝ่ายจะผลัดกันเดินมากระซิบบอกชื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามคนหนึ่งกับเจ้าเมืองจากนั้นอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องส่งผู้เล่นคนหนึ่งออกมาหาเจ้าเมืองบ้างหากคนที่ออกมาตรงกับชื่อที่อีกฝ่าย เจ้าเมืองก็จะร้องว่า “โป้ง”ผู้เล่นที่ถูกโป้งต้องถูกเป็นเชลย ฝ่ายใดถูกจับเป็นเชลยหมดก่อน ก็ต้องแพ้กลายเป็นม้าให้ฝ่ายชนะขี่หลัง

 

ม้าก้านกล้วย

จำนวนผู้เล่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

อุปกรณ์ 1.ก้านกล้วย 2.มีด 3.ไม้กลัด 4.เชือกหรือเชือกฟางก็ได้แล้วแต่เราจะสะดวกในการหา

          วิธีเล่น เลือกใบกล้วยที่มีความยาวพอเหมาะ เอามีดเลาะเอาใบกล้วยออก เหลือไว้ที่ปลายใบเล็กน้อยเพื่อให้เป็นหางม้า ที่ก้านโคนจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่าข้อมือของเด็กๆ ด้านนี้เอง เด็กๆจะกะความยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือสองคืบ แล้วเอามีดฝานแฉลบด้านข้างของก้านตรงที่กะไว้ ฝานบางๆไปทางด้านโคนทั้งสองข้าง เพื่อให้เป็นหูม้า พอได้ขาดหูยาวตามต้องการแล้วก็เอามือหักก้านกล้วยตรงที่กะจะให้เป็นโคนหูม้า ก้านกล้วยก็จะกลายเป็นรูปม้ามีหูชันขึ้นทั้งสองข้าง เสร็จแล้วก็เอาแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบเศษ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้เสียบทะลุไปที่ก้าน ไม่ที่เสียบก็จะมีลักษณะเหมือนไม้บังเหียนที่ผูกปากม้ากับคอม้า เสร็จแล้วก็ทำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็เสร็จ หาแขนงไม้ไผ่มาหนึ่งอัน ทำเป็นแซ่ขี่ม้า แคนี้ก็พร้อมจะเล่นม้าก้านกล้วยได้แล้ว

 

การละเล่นเป่ากบ

จำนวนผู้เล่น 2 คนขึ้นไป

อุปกรณ์ 1.ยางวง(ยางเส้น)วงใหญ่หรือวงเล็กก็ได้แล้วแต่ความชอบละความถนัด

             2.สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ

           วิธีเล่น เป่ากบเป็นการละเล่นของเด็กที่เล่นกันในร่มเล่นได้ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเด็กๆจะเรียกยางวงที่ตัวเองจะเป่าว่าอีเต(หมายถึงยางที่ตัวเองมั่นใจว่าเป่าดีที่สุด)แล้วตั้งกติกาว่าถ้าเป่ายางกบกันได้จะได้กันครั้งละกี่เส้นอาจจะเป็นครั้งละ 5 เส้นหรือ 10 เส้นก็แล้วแต่เด็กๆจะตกลงกัน ผู้เล่นมีจำนวน 2 คน หรือเป็นทีมก็ได้สถานที่เล่นในที่ร่มใช้พื้นที่เรียบๆ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดานหรือพื้นโต๊ะ ซึ่งผู้เล่นจะเอายางเส้นจะเป็นวงเล็กหรือเป็นวงใหญ่หรืออาจจะเป็นวงสีต่างๆอยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ 1 เส้นให้อยู่ห่างกันประมาณคนละ 1 ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้นของต้นไปข้างหน้าทีละน้อยๆจนยางเส้นทั้งสองมาอย่าใกล้กับผู้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้นของฝ่าย 
6

 

ตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้นแต่อาจจะให้รางวัลอื่นๆก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน 

 

การละเล่นว่าว   

จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน

อุปกรณ์ ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกนำมาผ่าแล้วเหลาให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกันให้เป็นรูปทรงต่างๆผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกันเป็นโครงสร้างและปิดด้วยกระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุดหรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่นว่าวที่นิยมกันคือ    ว่าวจุฬา ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก 5 ชิ้นมีจำปา 5 ดอก ทำด้วยไม้ไผ่ยาว 8 นิ้วเหลากลมโตประมาณ 3 มิลลิเมตร จำปา 1ดอกมีจำนวนไม้ 8 อันมัดแน่นกับสายปานที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้า

          ว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม 2 ชิ้นมีเหนียงเป็นเชือกยาว 8 เมตรผูกปลายทั้ง 2 ข้างให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลจนตกลงพื้นดิน

          ว่าวหง่าวทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสาลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว้างกว่าท่อนบนตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนูส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลมเสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้

           ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นกันโดยทั่วไปได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงามโดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯลฯ

          วิธีเล่น 1.ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่างๆ

2.บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการนิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย

3.การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและว่าปักเป้าคว้ากันบนอากาศจะจัดให้มีการแข่งขันกันที่บริเวณท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขันว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในแดนของตนล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังแดนของตนโดยให้ว่าวปักเป้าติดตรงดอกจำปาที่ติดไว้เมื่อติดแน่นดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตนขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกปานคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลและชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตนในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้าทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของตนเองได้ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามาว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน
7

 

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

 

 ขั้นตอนการดำเนินงาน

      1.ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำรายงาน

     2.ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของรายงาน

     3.ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆดังนี้ หนังสือเรียน หนังสือการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทย

     4.ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหา

     5.นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน

 

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา

     1.ปากกา

     2.ดินสอ

     3.ยางลบ

     4.ไม้บรรทัด

     5.ปากกาลบคำผิด

     6.กระดาษA4

     7.คอมพิวเตอร์

     8.เครื่องปริ้นเตอร์

     9.สันปก

 
8

 

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

 

ความหมายของการละเล่นของเด็กไทย

          การละเล่นของไทยหมายถึง การเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่เพื่อความบันเทิงใจทั้งที่เป็นการเล่นที่มีกติกาและไม่มีกติกาที่มีบทร้องประกอบจังหวะหรือไม่มีบทร้องประกอบจังหวะบางทีก็มีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานมากขึ้นทั้งผู้เล่นและผู้ชมมีส่วนร่วมสนุก

          คำว่า การละเล่น เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่เชี่ยวชาญทางภาษาไทยบางท่านกล่าวว่าเป็นการปรับเสียงคำว่า การเล่นให้ออกเสียงง่ายขึ้นผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรให้ความหมายกว้างออกไปถึงการเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจหลังจากประกอบกิจวัตประจำวันและการเล่นในเทศกาลท้องถิ่นหรืองานมงคลบ้าง อวมงคลบ้าง เช่น เพลงพื้นเมือง ละคร ลิเก ลำตัด หุ่น หนังใหญ่ฯลฯ

 

ที่มาของการละเล่นของเด็กไทย

     1.การเล่นของเด็กไทยเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

     2.หมากเก็บเป็นการละเล่นในภาคกลางเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

     3.มอญซ่อนผ้าเป็นการละเล่นในสมัยอยุธยานิยมเล่นในงานเทศกาลต่างๆโดยเฉพาะเทศกาลตรุษสงกรานต์มอญซ่อนผ้าเป็นการละเล่นของภาคเหนือ

     4.ลิงจับหลักหรือลิงชิงหลักเป็นการละเล่นของภาคกลางมักเล่นในเวลาว่างในช่วงเช้า-เย็นเล่นเพื่อความสนุกสนาน

     5.วิ่งเปรี้ยวเป็นการละเล่นของภาคกลางมักเล่นในเวลาว่างเพื่อความสนุกสนาน

     6.ลิงชิงบอลเป็นการละเล่นของภาคกลางมักเล่นในเวลาว่างจากภารกิจต่างๆเพื่อความสนุกสนานและเพื่อออกกำลังกาย

     7.ขี่ม้าส่งเมืองเป็นการละเล่นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการละเล่นของภาคเหนือนิยมเล่นในเวลาว่างจากภารกิจต่างๆ

     8.ม้าก้านกล้วยเป็นการละเล่นของภาคกลางมักเล่นในเวลาว่างเพื่อความสนุกสนาน

     9.การละเล่นเป่ากบเป็นการละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้มักเล่นในเวลาว่างเป็นการฝึกความรักความสามัคคี

     10.การละเล่นว่าวเป็นกีฬาพื้นบ้านของภาคกลางหรือมักจะเล่นในทุกๆภาคของประเทศไทยและจะเล่นในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเพราะเป็นช่วงที่ลมพัดแรงและมักจะเล่นในเวลาว่างจากการทำภารกิจต่างๆ

9

 

ความสำคัญของการละเล่นของเด็กไทย

     1. เพื่อให้เด็กไทยหันมาสนใจการละเล่นแบบไทยเพื่อไม่ให้การละเล่นของไทยสูญหายไป

     2. เพื่อให้เด็กไทยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     3. เพื่อให้เด็กไทยเห็นคุณค่าและความสำคัญของการละเล่นมากขึ้น

     4. เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมไทยให้สืบต่อไปยาวนาน

 
          10

 

บทที่ 5

สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

 

สรุปผลการศึกษา

           จากการทำรายงานวิชา Is เรื่องการละเล่นของเด็กไทยได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและจากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่าผู้ประเมินมีความพึงพอใจในผลงานและการนำเสนอซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่อีกทั้งยังมีความพึงพอใจในเนื้อหาสาระได้รับความสนุกสนานจากการทำกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการละเล่นของเด็กไทยมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในโอกาสต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้ยังได้รับความพึงพอใจในความเหมาะสมที่จัดเป็นสื่อการเรียน

          การจัดทำรายงานเรื่องการละเล่นของเด็กไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1.ได้ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นของเด็กไทย

2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการละเล่นของเด็กไทยและหันมาสนใจการละเล่นของเด็กไทยมากยิ่งขึ้น

3.เด็กไทยรู้จักวิธีการละเล่นของไทยและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

อภิปรายผล

          จากการศึกษาค้นคว้ารายงานเรื่อง การละเล่นของเด็กไทย การละเล่นของเด็กไทยหมายถึงการละเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่เพื่อความบันเทิงใจทั้งที่เป็นการเล่นที่มีกติกาและไม่มีกติกามีบทร้องประกอบจังหวะหรือไม่มีบทร้องประกอบจังหวะ

ข้อเสนอแนะ

1.ควรมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในเรื่องอื่นๆอีก

2.ควรหาการละเล่นที่นิยมในปัจจุบัน

3.ควรปลูกจิตสำนึกให้เด็กไทยหันมาเล่นการละเล่นของไทยเพื่อเป็นการอนุรักษ์การละเล่นของไทยให้คงอยู่ต่อไป
 
11

 

บรรณานุกรม

1.นลิน คู.การละเล่นของเด็กไทย.กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547.

2.วิราภรณ์ ปนาทกูล.การละเล่นของเด็กไทยกับการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น,2531.

3.โอม รัชเวทย์.การละเล่นของเด็กไทย.กรุงเทพฯ:แสงแดดเพื่อนเด็ก,2552.

4.WWW.Chidthai.org/thaiplayr/thaiplay.htm.2556.

5.WWW.Swdschool.com.2556.

11 ความคิดเห็น:

  1. ชัยวิสิทธิ์ : เหตุผลใดนักเรียนจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพราะเป็นเรื่องที่สนุกน่าสนใจน่าค้นหาน่าตื่นเต้นทำให้รู้เรื่องราวของการละเล่นต่างๆ

      ลบ
  2. พีระพงษ์ : การละเล่นของเด็กไทย หมายถึงอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    ตอบลบ
  3. นุชนารถ : นักเรียนเคยละเล่นพื้นบ้านอะไรบ้างและมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการละเล่นแบบนั้น

    ตอบลบ
  4. พรรณธิชา : การละเล่นเมื่อสมัยก่อนกับการละเล่นปัจจุบันในความคิดของนักเรียนนักเรียนชอบแบบไหนจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สมัยก่อนเพราะมีความสนุกสนานทุกคนไม่สนใจในเทคโนโลยีใหม่ๆทำให้เพลิดเพลินมีเวลาว่างในการทำงานก็จะสนุกมากขึ้น

      ลบ
  5. ศิริพร : ทำอย่างไรเด็กรุ่นใหม่จะหันมาสนใจการละเล่นพื้นบ้านของไทยให้มากกว่านี้

    ตอบลบ
  6. สุธาสินี : นักเรียนคิดว่าการละเล่นสมัยปัจจุบันของเด็กไทยมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ข้อดีคือทันยุคทันสมัยกับปัจจุบันมากขึ้นและเทคโนดลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง
      ข้อเสียคือการมีเทคโนโลยีสมัยปัจจุบันทำให้เด็กไทยติดเกมจนลืมวัฒนธรรมเก่าๆและการละเล่นของเด็กไทย

      ลบ
  7. ฐิติมา : นักเรียนได้อะไรบ้างจากการศึกษาเรื่องนี้และจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้หรือทำประโยชน์อย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช้ในการเรียนรู้ต่างๆการศึกษาทางประวัติศาสตร์การทำรายงานประวัติศาสตร์

      ลบ