วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รายงานเรื่อง สุภาษิตเเละคำพังเพย ม.4/3

สุภาษิตและคำพังเพย
( proverb and aphorism)

โดย
1.นางสาว มลธิดา สิทธิศักดิ์ไพศาล เลขที่ 21
2.นางสาว อภิญญา บุญเศษ เลขที่ 24
3.นางสาว พิมพ์วิภา มีงามดี เลขที่17
4.นางสาว สิณัฐดา หมายศูนย์คำ เลขที่23
 5.นางสาว ดวงใจ ชุ่มสูงเนินเลขที่14
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

โรงเรียนตานีวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้ารายวิชา I 30202
การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation)

ประจำภาคเรียนที่ 1


สุภาษิตและคำพังเพย
( proverb and aphorism)

โดย
1.นางสาว มลธิดา สิทธิศักดิ์ไพศาล     เลขที่ 21
 2.นางสาว อภิญญา บุญเศษ                  เลขที่ 24
3.นางสาว พิมพ์วิภา มีงามดี                เลขที่ 17
 4.นางสาว สิณัฐดา หมายศูนย์คำ         เลขที่ 23
  5.นางสาว ดวงใจ ชุ่มสูงเนินเลขที่ 14
                                                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

โรงเรียนตานีวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33

ครูที่ปรึกษา
นางปัณพิชชา   บรรเลง





กิตติกรรมประกาศ

               รายเรื่องสุภาษิตและคำพังเพย (proverb and aphorism) ฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจาก นาย สมโภชน์ สุขเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนตานีวิทยา ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณท่านมา          ณ โอกาสนี้ด้วย
ขอขอบพระคุณ นางปัณพิชชาบรรเลงครูที่ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำ
และเคยช่วยเหลือในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุล่วง และขอบพระคุณคณะครูทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
ขอขอบพระคุณบิดามารดาของคณะผู้จัดทำ ที่ให้การสนับสนุนการศึกษาเล่าเรียน และคอยเป็นกำลังใจที่ให้เสมอมา

คณะผู้จัดทำ











สารบัญ
                                                                                                                                                                                        
บทที่1                                          หน้า  แนวคิด ที่มาและความสำคัญ                                                                                                                          1
วัตถุประสงค์1
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ                                                                                                                                          1
ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                                                                                 1
บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                                        2
บทที่3 วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                                                         3
บทที่4 ผลการดำเนินการ                                                                                                                                                         4
บทที่5 สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ                                                                                                                      5
สรุปผล                                                                                                                                                                                        5
อภิปรายผล                                                                                                                                                                                 5
ข้อเสนอแนะ                                                                                                                                                                              6
บรรณานุกรม                                                                                                                                                                              7
ภาคผนวก                                                                                                                                                                                   8






บทที่1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากคณะผู้จัดทำได้แลเห็นว่าปัจจุบัน คนเรามักมองข้ามคำสุภาษิตและคำพังเพย คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาคำสุภาษิตและคำพังเพย เพื่อที่จะเผยแพร่และแสดงความนิยมของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล
 เพื่อนำสุภาษิตและคำพังเพยมาใช้ในการให้ข้อคิดและแนวปฏิบัติรวมทั้งคติเตือนใจ คำสั่งสอนให้แก่เยาวชนไทยมีจิตสำนึกที่ดี
วัตถุประสงค์
1.             เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จัก คำสุภาษิตและคำพังเพย
2.             เพื่ออนุรักษ์คำสุภาษิตและคำพังเพยที่มีมาแต่โบราณ
3.             เพื่อเผยแพร่ให้ทุกคนได้ศึกษาหาความรู้
ระยะเวลาและสถานที่ที่ดำเนินการ
  รายงานเรื่องสุภาษิตและคำพังเพยใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า  ตั้งแต่
วันที่ 20 เดือนพฤศจิกายนพ.2556    ถึงวันที่           เดือนธันวาคม พ. 2556
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.             นักเรียนนักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการอ่านสุภาษิตและคำพังเพย
2.             สามารถนำไปใช้ได้ดีและถูกต้อง




บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รายงานเรื่องสุภาษิตและคำพังเพย ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้
1.พจนานุกรมไทย ฉบับนักเรียนนักศึกษา

ความหมายของสุภาษิตและคำพังเพย
 สุภาษิต หมายถึง ข้อความสั้นๆ กะทัดรัด แต่มีความหมายชัดเจนลึกซึ้ง มีคติสอนใจหรือให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ้งสามารถพิสูจน์และเชื่อถือได้  เช่น  แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
     คำพังเผยมีลักษณะคล้ายสุภาษิตและเกือบเป็นสุภาษิต แต่ไม่ได้สอนใจหรือให้ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้โดยตรงมีลักษณะติชมแสดงความเห็นอยู่ในตัว  เช่น  ถี่ลอดตาช้าง  หางลอดตาเล็น
ตัวอย่างสุภาษิตและคำพังเพย
กบในกะลาครอบ  หมายถึง  สำคัญตนว่ามีความรู้มาก  ที่แท้ก็มีความรู้เพียงเล็กน้อย
กบเลือกนาย        หมายถึง  อยากจะเลือกหาคนดีหรือเลือกของที่ต้องใจ ผลสุดท้ายกลับได้ของที่ไม่มีค่า
กระดั่งงาลนไฟ     หมายถึง  หญิงที่เคยผ่านมือชายหรือเคยแต่งงานมาแล้ว รู้จักใช้เสน่ห์เล่ห์เหลี่ยมชั้นเฉิงเอาอกเอาใจ ชายให้ลุ่มหลงได้
กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ชายที่มีฐานะด้อยหมายปองผู้หญิงที่ฐานะสูงกว่า
กระต่ายขาเดียว หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมฟังเหตุผลใคร
กระต่ายตื่นตูม หมายถึง  เป็นความหมายของคนที่ตื่นตกใจง่าย
กาคาบพริก หมายถึง 
กิ้งก่าทอง หมายถึง  เป็นคนชอบโอ้อวดในสิ่งของที่ตนมีเพื่อให้ผู้อื่นรู้
กินน้ำใต้ศอก  หมายถึง   จำยอมเป็นรองเขา เช่น ผู้ที่เป็นเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้เมียหลวง
กินบนเรือน ขี้บนหลังคา หมายถึง เป็นผู้ไม่รู้คุณของคนอื่น เนรคุณคนหรือทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้มีพระคุณ
กินที่ลับ ไขที่แจ้ง หมายถึง  เปิดเผยเรื่องที่ทำกันในที่ลับ ให้ผู้อื่นล่วงรู้กินปูนร้อนท้อง หมายถึง  เมื่อทำผิดเก็บซ่อนไว้ไม่อยู่ มีอาการพิรุจขึ้นเองมีท่าทีเดือดร้อนขึ้นเองกินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง  หมายถึง  รู้ดีอยู่แล้ว แต่แสร้งทำเป็นไม่เห็นเก็บดอกไม้ร่วมต้น  หมายถึง  เคยทำบุญกุศลร่วมกันมา แต่ชาติปางก่อน
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่  หมายถึง  ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง  ว่าจะสลัดสิ่งชั่วร้ายออกจากตนก็ไม่พ้น
ขวานผ่าซากหมายถึง  โผงผางไม่เกรงใจใคร
ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง  หมายถึง  สวยแต่ภายนอก แต่ด้านจิตใจไม่ดี
ข้าวยากหมากแพง  หมายถึง  บ้านเมืองอดอยาก ตกอยู่ในสภาวะขาดแคลน
ขี่ช้างจับตั๊กแตน  หมายถึง  ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย
ขี้เกียจสันหลังยาว  หมายถึง  เรียกคนเกียจคร้าน เอาแต่นอนว่าขี้เกียดสันหลังหลังยาว
ขี้แพ้ชวนตี  หมายถึง  แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้ จะเอาชนะด้วยกำลัง,แพ้แล้วพาล
เข้าได้เข้าเข็มหมายถึง  เข้าที่ขับขันถึงเวลาสำคัญจะต้องตัดสินใจแล้ว
เข้าตามกรอก ออกตามประตู  หมายถึง  ทำตามธรรมเนียมประเพณี
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาม  หมายถึง  ประพฤติตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
เข้ารูปเข้ารอย  หมายถึง  ทำถูกต้องถูกกับแบบแผน
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา  หมายถึง  บอกหรือสอนก็ไม่จำ
เขียนด้วยมือลบด้วยตีน  หมายถึง  ยกย่องแล้วทำลายภายหลัง
เขียนเสือให้วัวกลัว  หมายถึง  ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้อื่นกลัวหรือเกิดความเกรงขาม
คนดีผีคุ้ม  หมายถึง  คนดีย่อมไม่มีภัย
คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ  หมายถึง  คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
คว้าน้ำเหลว  หมายถึง  ไม่ได้ตามต้องการ
คางคกขึ้นวอ  หมายถึง คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็แสดงกิริยาอวดดีจนลืมตัว
คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก  หมายถึง  ที่ทางคับแคบยังพออยู่ได้
ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก  หมายถึง  ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่
งมเข็มในมหาสมุทร  หมายถึง  ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ทำสิ่งที่ยากกว่าจะสำเร็จ
งูกินหาง  หมายถึง  วนเวียนกันไปมาไม่รู้จบสิ้น
จองหองพองขน  หมายถึง เย่อหยิ่งหลบหลู่ผู้อื่นหรือผู้มีคุณ
ฉลาดแกมโกง  หมายถึง  การใช้ความรู้ความฉลาดในทางเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น















บทที่3
วิธีการดำเนินงานำ
รายงานเรื่อง สุภาษิตและคำพังเพย ผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้
วิธีการดำเนินการ
รายงานเรื่อง สุภาษิตและคำพังเพย วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1.ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน
2.ผู้ศึกษาร่วมกันประชม วางแผน วิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงงาน
3.ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ ดังนี้ หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และสื่อต่างๆ
4.ศึกษาและเก็บข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน
5.นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน
6.จัดทำคู่มือเพื่อใช่สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา










บทที่4
ผลการดำเนินการ
รายงานเรื่อง สุภาษิตและคำพังเพย มีผลการดำเนินการ ดังนี้
      สุภาษิต หมายถึง ข้อความสั้นๆกะทัดรัดแต่มีความหมายชัดเจนลึกซึ้งมีคติสอนใจหรือให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวคิดปฏิบัติซึ้งสามารถพิสูจน์และเชื่อถือได้ เช่น แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร
      คำพังเพยมีลักษณะคล้ายสุภาษิต และเกือบเป็นสุภาษิตแต่ไม่ได้สอนใจหรือให้ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้โดยตรง มีลักษณะติชมแสดงความเห็นอยู่ในตัว เช่น ถี่ลอดตาช้าง หางลอดตาเล็น
ผลการดำเนินการ
1.ผู้ศึกษาได้รู้จักสุภาษิตและคำพังเพยและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
2.ผู้ศึกษาได้นำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่และอนุรักษ์ไว้สืบต่อไป
3.ผู้ศึกษาได้เผยแพร่เอกสารให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา












บทที่5
สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
รายงายเรื่อง สุภาษิตและคำพังเพย สามารถสรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน ดังนี้
จาการศึกษาผู้ศึกษามีความสนใจศึกษาสุภาษิตและคำพังเพยตามวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับสุภาษิตและคำพังเพยเป็นคำๆและให้ความหมายประกอบการศึกษา
อภิปราย
สุภาษิต หมายถึง ข้อความสั้นๆกะทัดรัด แต่มีความหมายชัดเจนมีคติสอนใจให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ้งสามารถพิสูจน์และเชื่อถือได้
คำพังเพยมีลักษณะคล้ายสุภาษิตและเกือบเป็นสุภาษิตแต่ไม่ได้สอนใจหรือให้ความจริงที่สาทารถพิสูจน์โดยตรง มีลักษณะติชมแสดงความคิดเห็นภายในตัว
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ผู้ศึกษารู้จักความหมายของคำสุภาษิตและคำพังเพย
2.สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.มีความเข้าใจในเรื่องสุภาษิตและคำพังเพย และนำไปใช้สอนได้ถูกต้องและเหมาะสม









ข้อเสนอแนะ
1.จัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และนำไปเผยแพร่ทางเว็บไซด์ต่างๆ
2.นำความรู้ในเรื่องสุภาษิตและคำพังเพยไปทำเป็นเล่มหนังสือ เพื่อให้ทุกนได้ศึกษาหาความรู้




























บรรณานุกรม










บรรณานุกรม
ชัยวัฒน์ สีแก้ว .พจนานุกรมไทย กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์ ๓๗๒-๓๗๔ ซ. วัดสุทธาราม ถ.เจริญนคร คลองสาน กทม. ooo, ๒๕๕๒
วิกิพีเดีย สารานุกรม ฐานข้อมูล’’ <http://somruthaisuphalck.blogspot.com/p/blog-page_1056.html/ฐานข้อมูล> 2553



























ภาคผนวก











ภาคผนวก



11 ความคิดเห็น:

  1. อภิญญา : ทำไมนักเรียนจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้ เพราะอะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพราะปัจจุบันคนหันมาสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น ทำใคำสุภาษิตไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ เราจึงจัดทำเรื่องขึ้นมา

      ลบ
  2. พิมพ์วิภา : คำสุภาษิตและคำพังเพยมีความแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สุภาษิต หมายถึง ข้อความสั้นๆ กะทัดรัด แต่มีความหมายชัดเจนลึกซึ้ง มีคติสอนใจหรือให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ้งสามารถพิสูจน์และเชื่อถือได้ เช่น แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
      คำพังเผยมีลักษณะคล้ายสุภาษิตและเกือบเป็นสุภาษิต แต่ไม่ได้สอนใจหรือให้ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้โดยตรงมีลักษณะติชมแสดงความเห็นอยู่ในตัว เช่น ถี่ลอดตาช้าง หางลอดตาเล็น

      ลบ
    2. สุภาษิต เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอน หรือหลักความจริง เช่น กงเกวียน กำเกวียน, รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ, น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ, ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า เป็นคำพูดเชิงเตือนสติว่า อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ
      คำพังเพย เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น กระต่ายตื่นตูม, ทำนาบนหลังคน, ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น, เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย,น้ำถึงไหน ปลาถึงนั้น เป็นต้น

      ลบ
  3. สิณัฐดา : คำสุภาษิตและคำพังเพยคำใดที่นักเรียนได้ยินได้ฟังมากที่สุด จงยกตัวอย่างบทสนทนาคำสุภาษิตคำพังเพยที่ได้ยินได้ฟังมาอย่างน้อย 2 สำนวน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กบในกะลาครอบ
      กระต่ายตื่นตูม
      ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิด

      ลบ
  4. ดวงใจ : นักเรียนได้รับประโยชน์อะไรจากการศึกษาเรื่องนี้และมีวิธีการเผยแพร่ความรู้จากการศึกษาค้นวิธีใดบ้าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1.ได้รู้จักความหมายของคำสุภาษิต
      2.ได้รู้จักขั้นตอนการทำงาน
      การเผยแพร่
      เช่น การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การทำเพาเวอร์พอย การทำรายงาน เป็นต้น

      ลบ
  5. มลธิดา : ในชีวิตประจำวันของนักเรียนนักเรียนเคยได้ยินได้ฟังการพูดการสนทนาที่มีสำนวนสุภาษิตแทรกอยู่จงยกตัวอย่างสำนวนที่ได้ยินหรือเคยสนทนามาอย่างน้อย 2 สำนวน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา
      ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
      นํ้าพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

      ลบ