วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ม.4/4


สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

 

โดย

                                              นายณัฐพงษ์    พรมมา                 เลขที่ 3

                                               นายประนพ         ดีสม                 เลขที่ 4           

                                                นายธีรเดช         ขามผาลา            เลขที่ 5

นางสาวสุชัญญา       กุนาสา         เลขที่ 22

  นางสาวสุวรรณา       เสาะสนธิ์     เลขที่ 25

    นางสาวเสาวภา       ทรงราษี         เลขที่ 32

 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4

 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 33

 

ครูที่ปรึกษา

คุณครูปัณพิชชา          บรรเลง



 
กิตติกรรมประกาศ
รายงานเรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากนายสมโภชน์  สุขเจริญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนตานีวิทยา  ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาส นี้
ขอขอบพระคุณ คุณครูปัณพิชชา   บรรเลง  ครูที่ปรึกษาที่ได้ให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุล่วงและขอขอบคุณ คุณครูทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
ขอขอบพระคุณบิดามารดาของคณะผู้จัดทำที่ได้ให้การสนับสนุนในการศึกษาเล่าเรียนและคอยเป็นกำลังใจให้เสนอ
ขอขอบคุณเพื่อนๆ ชั้น ม.4/4 ที่ช่วยให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือในการจัดทำรายงานจนสำเร็จลุล่วง
 
คณะผู้จัดทำ
  
สารบัญ
 
เนื้อหา                                                                                                                                  หน้า
บทที่ 1 บทนำ..............................................................................................................................................1
                ที่มาและความสำคัญ....................................................................................................................1
                วัตถุประสงค์................................................................................................................................1
                ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ.................................................................................................1
                ผลที่คาดว่าจะได้รับ.....................................................................................................................1
บทที่ 2   เอกสารที่เกี่ยวข้อง.........................................................................................................................2
                สำนวน........................................................................................................................................2
                สุภาษิต........................................................................................................................................2
                คำพังเพย.....................................................................................................................................2
                ตัวอย่างสำนวน สุภาษิต คำพังเพย..............................................................................................2
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ.........................................................................................................................3-8
บทที่ 4 ผลการดำเนินการ............................................................................................................................9
                ผลการศึกษาที่ค้นคว้า.................................................................................................................10
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ.................................................................................................10
                สรุปผล........................................................................................................................................11
                อภิปรายผล..................................................................................................................................11
                ข้อเสนอแนะ................................................................................................................................11
บรรณานุกรม...............................................................................................................................................13
บทที่ 1
บทนำ
 
ที่มาและความสำคัญ
                ในปัจจุบันนี้เราพบว่า สำนวนไทย สุภาษิต และคำพังเพย เป็นคำที่มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งไม่ค่อยจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เพราะคนในปัจจุบันมีความคิดสมัยใหม่ซึ่งไม่ค่อยนิยมนำคำเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันแต่ถ้ามีก็เป็นส่วนน้อย โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นในปัจจุบันจะได้ศึกษาคำเหล่านี้ก็ต่อเมื่อเรียนวิชาภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งทำให้สำนวนไทย สุภาษิตและคำพังเพยค่อยๆ เลือนรางหายไปในปัจจุบัน  ถ้าคนในปัจจุบันได้ศึกษาก็จะรู้ว่าสำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย มีความสำคัญในการให้ข้อคิด แนวทางปฏิบัติ หรือ ข้อคิดเตือนใจด้านการอบรมสั่งสอนซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติตามได้
วัตถุประสงค์
1.เพื่ออนุรักษ์สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ไว้ในปัจจุบัน
2.เพื่อส่งเสริมให้คนในปัจจุบันหันมาสนใจศึกษาสำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย มากขึ้น
3.เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเรื่องสำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย
4.เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
                รายงานเรื่องสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ วันที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ..2556 ถึงวันที่ 24 เดือนมกราคม พ..2556
สถานที่ดำเนินการ
                โรงเรียนตานีวิทยา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
                2.สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
                3.เป็นที่ยอมรับต่อผู้ศึกษาค้นคว้า
 
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
รายงาน เรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพย ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                1.คู่มือสอบภาษาไทย
                2.พจนานุกรมนักเรียน
                3.พจนานุกรมไทย ฉบับนักเรียน นักศึกษา
                4.http:// ton 4181.blogspot.com/?m=1
                5.http:// rukthaiclub.igetwib.com
                6.www.dek-d.com/board/view/3070037/
                สำนวน หมายถึง คำอ่านกล่าวสั้นๆกระชับรัดกุมแต่ไม่มีความหมายตรงตามตัวอักษรจะมีความหมายแปลกไปจากความหมายเดิมที่ใช้กันเป็นปกติในวัฒนธรรม เช่น จูงจมูก หมายถึง ยอมให้คนอื่นพาหรือนำไปทางไหนทำอะไรก็ได้  ต่อยหอย หมายถึง พูดไม่หยุดปาก  ถอยหลังเข้าคลอง หมายถึง ถอยเข้าไปสู่ยุคเก่าหรือแบบเก่า
                สุภาษิต หมายถึง ข้อความสั้นๆกะทัดรัด แต่มีความหมายชัดเจนลึกซึ้ง มีคติสอนใจหรือให้ความจริงเกี่ยงกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ่งสามารถพิสูจน์เชื่อถือได้ เช่น แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาน  น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง
                คำพังเพย มีลักษณะคล้ายสุภาษิตและเกือบเป็นสุภาษิต แต่ไม่ได้สอนใจหรือให้ความจริงที่พิสูจน์ได้โดยตรง เป็นคำกล่าวที่มีลักษณะติชม แสดงความเห็นอยู่ในตัว เช่น ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น           ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
                ถึงแม้จะสามารถแยกว่าคำไหนเป็นสำนวน สุภาษิต คำพังเพย แต่ในทางปฏิบัติจริงๆมีปัญหามาก เพราะข้อความหรือคำกล่าวเช่นนี้มี่จำนวนมาก มีลักษณะทาบเกี่ยวระหว่างสำนวน สุภาษิต คำพังเพย จนไม่อาจตัดสินเด็ดขาดว่าอยู่ในประเภทไหน เช่น
น้ำขึ้นให้รีบตัก (เป็นสำนวน เพราะความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร เป็นคำพังเพย เพราะกล่าวติชมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนที่ฉวยโอกาส เป็นสุภาษิต เพราะให้คติสอนใจว่าเมื่อมีโอกาสจะรีบทำกิจการให้ได้รับผลสำเร็จ) 
น้ำลดต่อพุด (เป็นสำนวน เพราะความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร เป็นคำพังเพย เพราะกล่าวติหรือเย้ยหยัน  คนทำชั่วมีความชั่วปรากฏขึ้น เป็นสุภาษิต เพราะสอนความจริงที่ว่า ความชั่ว ความผิดพลาดนั้นไม่สามารถปิดบังได้ตลอดไป) เพราะเหตุนี้จะไม่เน้นความสามารถในการแยกประเภท แต่จะเน้นคามหมายเพื่อนำไปใช้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคลในสถานการณ์ต่าง(วัฒนธรรมในการใช้ภาษา)
 
ตัวอย่าง สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย
1. กงเกวียน กำเกวียน หมายถึง เวรสนองเวร กรรมสนองกรรมทำกับเขาไว้อย่างไรผลที่ทำไว้ก็จะกลับมาสนองตอบเหมือนล้อเกวียนที่หมุนเวียนอย่างนั้น
               2. กบในกะลาครอบ หมายถึง สำคัญตนว่ามีความรู้มาก ที่แท้ก็มีความรู้เพียงน้อยนิด
               3. กบเลือกนาย หมายถึง อยากจะเลือกหาคนดีหรือเลือกของที่ต้องใจผลสุดท้ายกลับได้ของที่ไม่มีค่า
               4. กระดังงาลนไฟ หมายถึง หญิงที่เคยผ่านมือชาย หรือเคยแต่งงานมาแล้วรู้จักใช้เสน่ห์เหลี่ยมชั้นเชิง เอาอกเอาใจชายให้ล่มหลงได้
               5. กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ชายมีฐานะด้อยหมายปองหญิงที่มีฐานะสูงกว่า
               6. กระต่ายขาเดียว หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมฟังเหตุผลใคร
               7. กระต่ายตื่นตูม หมายถึง เป็นความหมายของคนที่ตื่นตกใจง่าย โดยไม่คิดสำรวจหาเหตุที่มาก่อน
               8. กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี หมายถึง ชนชาติไทยไม่สิ้นคนดีที่จะทำคุณประโยชน์ให้ชาติ
               9. กลมเป็นลูกมะนาว หมายถึง กลับกลอกจนจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
               10. กลิ้งครกขึ้นเขา หมายถึง ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตน หรือทำงานที่หนักจนเกินกำลัง
               11. กิ่งทองใบหยก หมายถึง เหมาะสมกัน เช่น ชายหญิงที่แต่งงานอยู่กินกันเป็นสามีภรรยาสมฐานะกันทั้งคู่
               12. กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง เป็นคนชอบโอ้อวดในสิ่งของที่ตนมีเพื่อให้ผู้อื่นรู้
               13. กินน้ำใต้ศอก หมายถึง จำต้องยอมเป็นรองเขาหมายถึงผู้ที่เป็นเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้เมียหลวง
               14. กินบนเรือนขี้บนหลังคา หมายถึง เป็นผู้ไม่รู้คุณของผู้อื่น, เนรคุณคน หรือทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้มีพระคุณ
                15. เกลือเป็นหนอน หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน คนในบ้านหรือพวกเดียวกันคิดทรยศ เอาใจออกห่าง ไปให้ความลับแก่ฝ่ายตรงข้ามจนทำให้ตนเองเดือดร้อน
                16. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง หมายถึง คนมั่งมีจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก แต่ไม่กระทบกระเทือนหรือเดือดร้อน
                17. ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง ว่าจะสลัดสิ่งชั่วร้ายออกจากตนก็ไม่พ้น
                18. ขวานผ่าซาก หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร
                19. ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง หมายถึง สวยแต่ภายนอก แต่ด้านจิตใจไม่ดี
                20. ข้าวยากหมากแพง หมายถึง บ้านเมืองอดอยากตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนอาหาร
                21. ข้าวใหม่ปลามัน หมายถึง นิยมเรียกช่วงเวลาที่สามีภรรยาแต่งงานกันใหม่ๆ เพราะอะไรที่เป็นของใหม่ถือว่าดี
                22. ขิงก็รา ข่าก็แรง หมายถึง ต่างก็นับว่าเก่งทั้งคู่, จัดจ้านพอๆกัน,ต่างไม่ยอมลดละกันมีอารมณ์ด้วยกันทั้งคู่
                23. ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย
                24. ขี้เกียจสันหลังยาว หมายถึง เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่าขี้เกียจสันหลังยาว
                25. ขี้ตามช้าง หมายถึง ทำในสิ่งที่เหลือบ่ากว่าแรงที่ตนเองจะทำได้, ทำตามอย่างผู้ที่ดีกว่าตน
                26. ขี้แพ้ชวนตี หมายถึง แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้ จะเอาชนะด้วยกำลัง, แพ้แล้วพาล
                27. ขี้หดตดหาย หมายถึง ใช้ประกอบกับคำกลัวหรือตกใจ เช่น กลัวจนขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก ตกใจมาก
                28. ขึ้นต้นไม้ปะรังแตน หมายถึง หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบอันตรายอีกอย่างหนึ่ง
                29. ขึ้นหน้าไม้ไม่ทันเห็นกระรอก หมายถึง หวังความสำเร็จก่อนที่จะลงมือทำ, หวังผลประโยชน์ก่อนงานที่จะสำเร็จผล
                30. เข้าด้ายเข้าเข็ม หมายถึง เข้าที่คับขัน,ถึงเวลาสำคัญจะได้ตัดสินใจแล้ว
                31. เข้าตามตรอกออกตามประตู หมายถึง ทำตามธรรมเนียมประเพณี
                32. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หมายถึง คำเตือนให้มีสติอย่าประมาทเหมือนเวลาเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย
                33. เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ผู้อื่นกลัวหรือเกิดความเกรงขาม
                34. แขนซ้ายแขนขวา หมายถึง บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขว
                35. ไขไถ้กลางสนาม หมายถึง นำเอาเรื่องลับหรือความลับออกมาเปิดเผยท่ามกลางผู้คน
                36. ขุดดินกินหญ้า หมายถึง ทำงานเล็กๆน้อยๆไม่เป็นหลักเป็นฐานพอเลี้ยงตัวเองไปวันหนึ่งๆ เช่น ทำไรเล็กๆน้อยๆ
                37. ขุดบ่อล่อปลา หมายถึง ทำกลอุบายเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อโดยหวังผลประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
                38. คนจัญไรมาพบกัน หมายถึง คนชั่วมาพบกันจะมีแต่เรื่องชั่วๆ
                39. คบคนจรนอนหมอนหมิ่น หมายถึง คบกับคนที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน อาจมีอันตรายเสียหายได้
                40. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ หมายถึง จะคบใครให้พิจารณาเสียก่อน เช่น เดียวกับการจะซื้อผ้าต้องพิจารณาเนื้อผ้า
                41. คมในฝัก หมายถึง ลักษณะของผู้ฉลาด จะนิ่งเงียบไม่แสดงความฉลาดนั้นออกมาโดยไม่จำเป็น แต่เมื่อถึงเวลาก็จะแสดงออกมาให้ปรากฏ
                42. คลื่นใต้น้ำ หมายถึง เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเหมือนว่าสงบเรียบร้อย
                43. คลุกคลีตีโมง หมายถึง มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
                44. คลุมถุงชน หมายถึง ลักษณะที่ทั้งสองฝ่ามาเผชิญกันทั้งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักกันมาก่อน,มักใช้แก่ประเพณีแต่งงานในสมัยก่อนที่พ่อแม่จะจัดให้แต่งกัน โดยทั้งหญิงและชายไม่รู้จักกันมาก่อน
   45. คว้าน้ำเหลว หมายถึง ไม่ได้ตามต้องการ
   46. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด หมายถึง มีความรู้มาก แต่ไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
                 47. ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก หมายถึง ความวุ่นวายเพิ่งเกิดขึ้นแต่ความเดือดร้อนวุ่นวายก็เกิดซ้ำเข้าอีก
                48. คว่ำบาตร หมายถึง ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึง สังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ ผู้ประทุษร้ายต่อพระศาสนาด้วยการไม่คบไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น
                49. คอขาดบาดตาย หมาถึง ร้ายแรงถึงอาจต้องสูญเสียชีวิตได้
                50. คางคกขึ้นวอ หมายถึง คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีจนลืมตัว
                51. คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก หมายถึง ที่ทางคับแคบยังพออยู่กันได้
                52. เคียงบ่าเคียงไหล่ หมายถึง มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกันหรืออยู่ในระดับเดียวกัน,ร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน
                53. โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน หมายถึง ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว
                54. ฆ้องปากแตก หมายถึง ปากโป้ง,เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนาหรือบอกกล่าวให้รู้
                55. ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก หมายถึง ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่
                56. ฆ่าช้างเอางา หมายถึง การทำลายสิ่งที่มีค่าสูงหรือที่มีค่ามากเพียงเพื่อต้องการผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย
                57. ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด หมายถึง ตัดไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด)
                58. งมเข็มในมหาสมุทร หมายถึง ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทำสิ่งที่ยากเกินกว่าจะสำเร็จ
                59. งงเป็นไก่ตาแตก หมายถึง งงมากเหมือนไก่ถูกเดือยแหลมของคู่ต่อสู้แทงตา
                60. งอมืองอตีน หมายถึง เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทำการงาน
                61. งามแต่รูปจูบไม่หอม หมายถึง มีรูปร่างงามแต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี,ไม่มีเสน่ห์
                62. เงาตามตัว หมายถึง ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย
                63. จนตรอก หมายถึง ไม่มีทางออก
                64. จมไม่ลง หมายถึง เคยทำตัวใหญ่มาแล้วทำให้ต้อยลงไม่ได้ เพราะเคยมีฐานะร่ำรวยมาก่อน เมื่อยากจนลงก็ยังทำตัวเหมือนเดิม
                65. จระเข้ขวางคลอง หมายถึง ชอบขัดขวางการทำงานของผู้อื่น ทั้งๆที่ธุระนั้นเกี่ยวข้องกับคนเพียงเล็กน้อย
                66. จองหองพองขน หมายถึง เย่อหยิ่งลบหลู่ผู้อื่นหรือผู้มีคุณ
                67. จับได้ไล่ทัน หมายถึง พูดดักให้ยอมรับ, พูดต้อนให้จนมุม เช่น พอจับได้ไล่ทันก็หน้าเสีย
                68. จับตัววางตาย หมายถึง กำหนดลงไปแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง กำหนดตัวบุคคลให้ประจำหน้าที่โดยเฉพาะ
                69. จับแพะชนแกะ หมายถึง ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็จะเอาอย่างนั้นเพื่อให้งานลุล่วงไป
                70. จับเสือมือเปล่า หมายถึง แสวงหาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน
                71. เจ้าชู้ไก่แจ้ หมายถึง ผู้ชายที่ยามเห็นผู้หญิงแล้วมีท่าทางเจ้าชู้กรีดกรายไปมา
                72. จุดใต้ตำต่อ หมายถึง พูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้า โดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้ตัวเลย
                73. ฉลาดแกมโกง หมายถึง การใช้ความรู้ความฉลาดในทางเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
                74. ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน หมายถึง ชักนำศัตรูเข้าบ้าน
                75. ชักใบให้เรือเสีย หมายถึง พูดหรือทำขวางๆให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป
                76. ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึง พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อของสิ่งที่ประสงค์
                77. ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด หมายถึง ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนทั่วไปรู้กันจนทั่วแล้วจะปิดอย่างไรก็ปิดไม่มิด
                78. ช้างสาร หมายถึง เมื่อผู้มีอำนาจมีกำลังต่อสู้กัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ
                79. ช้างเท้าหลัง หมายถึง ผู้ที่ต้องเดิมตามผู้นำ มักหมายถึงภรรยาที่ต้องทำตามสามีหรือเชื่อฟังสามี
                80. ชิงสุกก่อนห่าม หมายถึง ด่วนทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน)
                81. ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ หมายถึง ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างไร ผู้น้อยก็ต้องคอยว่าคล้อยตามไปอย่างนั้น เพราะกลัวหรือต้องการประจบ
                82. เชื้อไม่ทิ้งแถว หมายถึง เป็นไปตามเผ่าพันธุ์, พ่อแม่ประพฤติหรือมีนิสัยอย่างไรลูกเต้าก็เป็นไปอย่างนั้นด้วย
                83. ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน หมายถึง เงินทองที่ได้มาโดยไม่สุจริตจะอยู่กับเราไม่นาน ส่วนคนที่หาอย่างซื่อสัตย์จะมีกินมีใช้ไม่รู้จักหมด
                84. เฒ่าหัวงู หมายถึง คนแก่หรือคนมีอายุมากใช้กลอุบายทำให้หญิงสาวหลงรัก
                85. ดอกพิกุลร่วง หมายถึง เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดจาว่า อย่ากลัวว่าถ้าพูดแล้วดอกพิกุลที่อยู่ในปากจะร่วงออกมา
                86. ดาบสองคม หมายถึง มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีหรืออาจเสียก็ได้
                87. เด็ดดอกไม้ร่วมต้น หมายถึง เคยทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติก่อนจึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้
                88. ได้น้ำได้เนื้อ หมายถึง ได้งานมาก, ได้ประโยชน์มาก
                89. ตกกระไดพลอยโจน หมายถึง จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางหลีกเลี่ยง
                90. ตกนรกทั้งเป็น หมายถึง ได้รับความลำบากแสนสาหัส เช่น คนที่ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจำ
                91. ตบหัวลูบหลัง หมายถึง ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรก แล้วกลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง
                92. ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา หมายถึง ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว
                93. ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
                94. ตัวเป็นเกลียว หมายถึง อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน
                95. ตาบอดได้แว่น หมายถึง คนที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อตนเลย
                96. ตาเป็นสับประรด หมายถึง มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง
                97. ตาเล็กตาน้อย หมายถึง ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทางชู้สาว (มักเป็นอาการของหญิงสาว)
                98. ตายดาบหน้า หมายถึง มุ่งเสี่ยงไปข้างหน้า มีทิฐิมานะที่จะต่อสู้กบเคราะห์กรรมเอาข้างหน้า กล้าทำการไปก่อนแล้วค่อยคิดแก้เหตุการณ์ภายหลัง
                99. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง การลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน ใช้จ่ายทรัพย์ไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร
                100. ตีงูให้หลังหัก หมายถึง กระทำการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจังย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง
                101. ถอดเขี้ยวถอดเล็บ หมายถึง ละพยศ,ละความเก่งกาจหรือไม่แสดงอำนาจอีกต่อไป
                102. ถอยหลังเข้าคลอง หมายถึง หวนกลับไปหาแบบเดิม แทนที่จะเจริญแต่กลับล้าหลัง
                103. ถ่านไฟเก่า หมายถึง ชายหญิงที่เคยรกใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น
                104. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น หมายถึง ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริงด้วยมีช่องโหว่
                105. เถียงคำไม่ตกฟาก หมายถึง พูดคำเถียงคำไม่หยุดปาก,เถียงโดยไม่ฟังเหตุผล
                106. ทำนาบนหลังคน หมายถึง ทำกินโดยเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ออกแรงทำงาน
                107.นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ หมายถึง อาการที่สำเร็จลงอย่างรวดเร็วอย่างไม่ทันคาดคิด เช่นนักมวยชกกันแค่หมัดสองหมัด แล้วอีกคนหนึ่งถูกชกล้มลงแพ้เสียแล้ว
                108. นกสองหัว หมายถึง คนที่ทำตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้งสองฝ่ายที่มักเป็นศัตรูกันโดยหวังผลประโยชน์เพื่อตน
                109. น้ำเย็นปลาตาย หมายถึง คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวานที่ถูกใจผู้ฟัง ทำให้คนหลงเชื่อได้
                110. น้ำร้อนปลาเป็น หมายถึง คำพูดตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก บางครั้งอาจพูดความจริงมีประโยชน์แต่ผู้ฟังไม่ชอบ
                111. บ้านนอกคอกนา หมายถึง เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกเมืองห่างไกลความเจริญ
                112. ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หมายถึง ผู้ที่กำลังมากกว่ากดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอ
                113. ปากเปียกปากแฉะ หมายถึง เรียกการว่ากล่าวตักเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ยังไม่เชื่อฟัง
                114. ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย หมายถึง คนในบ้านเป็นใจให้คนนอกบ้านเข้ามาทำความเสียหายให้,คนในบ้านไม่ดีทำให้คนที่มาอาศัยอยู่ด้วยพลอยไม่ดีไปด้วย
                115. แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร หมายถึง  การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ
                116. ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด หมายถึง ฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิดๆพลาดๆ
                117. ฟังหูไว้หู หมายถึง เมื่อได้รับฟังอะไรให้คิดก่อนไม่ให้เชื่อ
                118. มัดมือชก หมายถึง บังคับหรือใช้วิธีการใดๆ ให้อีกฝ่ายตกอยู่ในอำนาจแล้วจัดการเอาตามชอบใจ
                119. ยื่นหมูยื่นแมว หมายถึง แลกเปลี่ยนกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน
                120. หมาไล่เนื้อ หมายถึง คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ได้ผู้เป็นนายก็เมตตา แต่เมื่อทำประโยชน์ให้ไม่ได้แล้วก็ถูกทอดทิ้งไม่ไยดี
 
บทที่ 3
วิธีดำเนินการ 
                รายงานเรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้
วิธีดำเนินการ
  รายงานเรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย มีวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1.ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำรายงาน
2.ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์หัวข้อวัตถุประสงค์ของรายงาน
3.ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ ดังนี้
                -หนังสือพจนานุกรม
                -หนังสือสำนวนสุภาษิต
                -อินเทอร์เน็ต
                4.ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหา
                5.นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินการ
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
                1.ปากกา
                2.ปากกาลบคำผิด
                3.หนังสือ
                4.คอมพิวเตอร์
                5.ดินสอ
บทที่ 4
ผลการดำเนินการ 
รายงานเรื่อง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย มีผลการดำเนินการ ดังนี้
ผลการศึกษาค้นคว้า
                สำนวน หมายถึง คำอ่านสั้นๆกระชับรัดกุม แต่ไม่มีความหมายตรงตามตัวอักษรจะมีความหมายแปลกไปจากความหมายเดิมที่ใช้กันเป็นปกติในวัฒนธรรม
                สุภาษิต หมายถึง ข้อความสั้นๆกะทัดรัด แต่มีความหมายชัดเจนลึกซึ้ง มีคติสอนใจหรือให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ่งสามารถพิสูจน์เชื่อถือได้
                คำพังเพย หมายถึง มีลักษณะคล้ายสุภาษิต และเกือบเป็นสุภาษิตแต่ไม่ได้สอนใจ หรือให้ความจริงที่พิสูจน์ได้โดยตรง เป็นคำกล่าวที่มีลักษณะติชม แสดงความคิดเห็นอยู่ในตัว
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
            1. กงเกวียน กำเกวียน หมายถึง เวรสนองเวร กรรมสนองกรรมทำกับเขาไว้อย่างไรผลที่ทำไว้ก็จะกลับมาสนองตอบเหมือนล้อเกวียนที่หมุนเวียนอย่างนั้น
             2. กบในกะลาครอบ หมายถึง สำคัญตนว่ามีความรู้มาก ที่แท้ก็มีความรู้เพียงน้อยนิด
             3. กบเลือกนาย หมายถึง อยากจะเลือกหาคนดีหรือเลือกของที่ต้องใจผลสุดท้ายกลับได้ของที่ไม่มีค่า
             4. กระดังงาลนไฟ หมายถึง หญิงที่เคยผ่านมือชาย หรือเคยแต่งงานมาแล้วรู้จักใช้เสน่ห์เหลี่ยมชั้นเชิง เอาอกเอาใจชายให้ล่มหลงได้
              5. กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ชายมีฐานะด้อยหมายปองหญิงที่มีฐานะสูงกว่า
              6. กระต่ายขาเดียว หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมฟังเหตุผลใคร
              7. กระต่ายตื่นตูม หมายถึง เป็นความหมายของคนที่ตื่นตกใจง่าย โดยไม่คิดสำรวจหาเหตุที่มาก่อน
              8. กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี หมายถึง ชนชาติไทยไม่สิ้นคนดีที่จะทำคุณประโยชน์ให้ชาติ
              9. กลมเป็นลูกมะนาว หมายถึง กลับกลอกจนจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
              10. กลิ้งครกขึ้นเขา หมายถึง ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตน หรือทำงานที่หนักจนเกินกำลัง
  
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
                จากการทำโครงงานวิชา IS2  เรื่องสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและจากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจในผลงานและการนำเสนอ ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับเกณฑ์พอดีเป็นส่วนใหญ่อีกยังทั้งมีความพึงพอใจในเนื้อหาสาระได้รับความสนุกสนานจากการทำกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยมากยิ่งขึ้นกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ไปใช้ในโอกาสต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังได้รับความพึงพอใจในความเหมาะสมที่จัดเป็นสื่อการเรียน
สรุป
                การจัดทำรายงาน เรื่องสำนวน สุภาษิต คำพังเพย สามารถสรุปได้ดังนี้
                1.เพื่ออนุรักษ์สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
                2.เพื่อส่งเสริมให้คนในปัจจุบันหันมาสนใจศึกษาสำนวน สุภาษิต คำพังเพยมากขึ้น
                3.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องสำนวน สุภาษิต คำพังเพย
                4.เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
อภิปรายผล
                จาการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่องการศึกษา สำนวน สุภาษิต คำพังเพย พบว่า สำนวน คือคำอ่านสั้นๆกระชับรัดกุมแต่ไม่มีความหมายตรงตามตัวอักษรจะมีความหมายแปลกไปจากความหมายเดิม สุภาษิต คือ ข้อความสั้นๆกะทัดรัด แต่มีความหมายชัดเจนลึกซึ้ง มีคติสอนใจหรือให้ความจริงเกี่ยวกับความคิด ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ คำพังเพย คือ มีลักษณะคล้ายสุภาษิตและเกือบเป็นสุภาษิตแต่ไม่ได้สอนใจ หรือให้ความจริงที่พิสูจน์ได้โดยตรง เป็นคำกล่าวที่มีลักษณะติชมแสดงความคิดเห็นอยู่ในตัว
ข้อเสนอแนะ
  การจัดทำรายงานเรื่องสำนวน สุภาษิต คำพังเพย มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
                1.ควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามอักขระวิธีเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทย
                2.ควรหาสำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมาใช้กันให้มากขึ้น
                3.ควรมีการใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพยได้ถูกต้องและปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
 

บรรณานุกรม
ชัยวัฒน์           สีแก้ว. พจนานุกรมไทยฉบับนักเรียน นักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2552
ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์ประสานมิตร. พจนานุกรมนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประสานมิตร
                        (บสม.)จำกัด,2552                   
วัชรพงศ์        โกมุทธรรมวิบุลย์. คู่มือสอบภาษาไทย ม.3 เข้า ม.4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ม.ศ.พัฒนา
                         จำกัด,2552 


 
ภาคผนวก



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
           
 


12 ความคิดเห็น:

  1. ณัฐพงษ์ : สำนวนสุภาษิตและคำพังเพยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงได้ตายตัว สลับที่หรือตัดตอนไม่ได้ มีความหมายเชิงเปรียบเทียบลึกซึ้งโดยครอบคลุมไปถึง ภาษิต สุภาษิต และคำพังเพย
      สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่มีคติควรฟัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอนเตือนคติให้ได้คิด
      คำพังเพย หมายถึง ข้อความที่เรียบเรียงขึ้นมา แฝงคติเตือนใจ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติตาได้เป็นความหมายกลางๆคือไม่เน้นการสั่งสอนและเนื้อหาของข้อความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือความจริงแท้แน่นอน

      ความแตกต่างระหว่าง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
      สุภาษิตจะไม่มีการเสียดสีหรือติชมเหมือนคำพังเพยเป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ภาษิตนี้ยังรวมไปถึงสัจธรรม คำสั่งสอนอันเป็นความจริงอย่างเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นต้น

      ลบ
  2. ประนพ : ทำไมจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้เพราะอะไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพราะอยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของคำสุภาษิตและคำพังเพย และได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ และก็นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

      ลบ
  3. ธีรเดช: สำนวนสุภาษิตคำพังเพย เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สุภาษิต
      ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง คำกล่าวที่มีคติควรฟัง สุภาษิตจึงมีลักษณะเดียวกับสำนวนและคำพังเพย แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้คิด ไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เรียกสัจธรรมเหล่านี้ว่า "สุภาษิต"
      เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ฯลฯ สุภาษิต จึงมีเนื้อความ ความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจอ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย
      และคำพังเพยคือ "คำที่กล่าวขึ้นลอย ๆ เป็นคำกลางเพื่อตีให้เข้ากับเนื้อเรื่อง"
      คำพังเพยเป็นถ้อยคำที่มีลักษณะเดียวกับสำนวน แต่ต่างจากสำนวนตรงที่มีจุดมุ่งหมายเชิงสั่งสอน แต่เป็นไปในทำนองเสียดสี ประชดประชัน แฝงความหมายเชิงติชมไว้ด้วย คำพังเพยส่วนมากมีลักษณะเป็นข้อคิด และมีความหมายลึกซึ้ง เนื้อความที่สั่งสอนนั้น ไม่ได้เป็นความจริงอันเที่ยงแท้

      ลบ
  4. สุชัญญา : ในชีวิตประจำวันของนักเรียนนักเรียนเคยใช้สำนวนสุภาษิตคำพังเพยหรือไม่ถ้าเคยใช้จงยกตัวอย่าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เคยคะ ใช้คำว่า ขว้างงูไม่พ้นคอ
      สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้นั้นมีปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พยายามจะปัดปัญหาให้พ้นจากตัว แต่แล้วก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบไปได้ ต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานั้นอยู่ดี

      ลบ
  5. สุวรรณา : สำนวนสุภาษิตคำพังเพยที่ได้ยินบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวันคือคำใดจงยกตัวอย่างคำคำนั้น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดินพอกหางหมู ค่ะ เพราะ ดินพอกหางหมู หมายถึง นิสัยที่ชอบปล่อยให้การงานคั่งค้างสะสม ผัดวันประกันพรุ่ง เกียจคร้าน ไม่ยอมทำให้สิ่งนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว จนในที่สุดการงานต่างก็สะสมพอกพูนขึ้นจนยากที่จะสะสางให้เสร็จได้โดยง่าย
      ก็เหมือนกับเวลาที่เรามีงานเยอะๆแล้วไม่รีบทำให้เสร็จ งานก็จะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆจนไม่เสร็จสักอย่าง จนกลายเป็น ดินพอกหางหมู

      ลบ
  6. เสาวภา : นักเรียนได้อะไรจากการศึกษาเรื่องนี้และจะเอาความรู้จากการศึกาาเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ได้รับความรู้เกี่ยวสำนวนสุภาษิตและคำพังเพยมากขึ้น และสามารถแยกและบอกประเภทของคำไ้
      ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้คั้งนี้จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมและถูกกาลเทศะในแต่ละโอกาส

      ลบ